วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2560

บทที่ 3 การประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์จากวัตถุธรรมชาติ


    ความรู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์
    ความหมายของบรรจุภัณฑ์
    หมายถึง วัตถุหรือวัสดุที่ใช้ใส่ ห่อ หุ้มสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ โดยต้องปกป้องคุ้มครองสิ่งของภายในให้มีความปลอดภัย สะดวกต่อการใช้งาน ขนส่ง เคลื่อนย้าย และส่งเสริมการจำหน่าย
    ความเป็นมา
    ใช้ใบไม้ เปลือกไม้ เปลือกหอย กระบอกไม้ไผ่ หนังสัตว์ มาห่อหุ้มเพื่อป้องกันแมลง แสงแดดและฝน
    ใช้ใบไม้ เช่น ใบตองมาหุ้ม นำเปลือกไม้มาสานขึ้นรูป
    ใช้กระดาษหรือผ้ามาห่อหุ้ม
    ใช้กระดาษแข็ง แผ่นโลหะ พลาสติก แก้ว ไม้ ใยสังเคราะห์มาห่อหุ้ม
    หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ 
    1.ปกป้องคุ้มครองสินค้าหรือผลิตภัณฑ์  โดยบรรจุภัณฑ์ต้องได้รับการออกแบบให้สามารถปกป้องสินค้าภายในได้ ไม่เสียหายจากการขนส่ง แมลงหรือสัตว์กัดแทะ แตกหักและเสื่อมสภาพ
    2.อำนวยความสะดวกต่อการขนส่ง เคลื่อนย้าย เก็บรักษา โดยบรรจุภัณฑ์ต้องมีความมั่นคงและแข็งแรง สามารถวางซ้อนทับได้หลายชั้น สะดวกต่อการจับ ถือ พกพา และขนส่ง
    3.ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ควรแสดงให้เห็นตัวสินค้า หรือบ่งบอกว่าสินค้าภายในคืออะไร ใครผลิต มีวิธีใช้และเก็บรักษาอย่างไร
    4.ส่งเสริมการขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ต้องมีรูปแบบ สีสันสวยงาม สะดุดตา ดึงดูดใจผู้ซื้อ แตกต่างจากคู่แข่งทางการตลาดเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ
    5.เพิ่มมูลค่าของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เมื่อบรรจุภัณฑ์มีความสวยงามดึงดูดใจผู้ซื้อจะสร้างความนิยมและส่งผลให้ขายสินค้าได้ในราคาที่สูงขึ้น
    6.รณรงค์ในเรื่องต่างๆ บรรจุภัณฑ์ต้องมีสัญลักษณ์ ภาพ ฉลาก หรือข้อความโน้มน้าวใจให้ผู้ซื้อต้องการมีส่วนร่วมในการทำเพื่อส่วนร่วม
    บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบและประดิษฐ์มาเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยลดปริมาณขยะและย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ประหยัดค่าใช้จ่าย เมื่อใช้วัสดุที่มีมากในท้องถิ่นมาทำบรรจุภัณฑ์
    วัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ
    1.วัสดุประเภทเส้นใย เช่น กล้วย หวาย เตยปาหนัน กก กระจูด ผักตบชวา ซึ่งก่อนนำมาสานเป็นบรรจุภัณฑ์ต้องผ่านการแปรสภาพด้วยการตากแห้ง ฟอกขาว ฯลฯ
    2.วัสดุที่แปรรูปเป็นแผ่น และรูปทรงต่างๆ เช่น กระดาษ
    3.วัสดุประเภทไม้ เช่น ไม้สัก ไม้ไผ่ ไม้มะขาม
    การออกแบบบรรจุภัณฑ์จากวัมดุธรรมชาติ
    โดยทั่วไปจะแบ่งชั้นของบรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้มหรือปกปิดตัวสินค้าไว้3ชั้น ดังนี้
    1.บรรจุภัณฑ์ชั้นใน ซึ่งอยู่ชิดกับตัวสินค้า
    2.บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สอง ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ชั้นใน
    3.บรรจุภัณฑ์ชั้นนอก รวบรวมสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเพื่อขนส่ง
    การออกแบบบรรจุภัณฑ์จะต้องออกแบบ2ส่วนด้วยกัน ได้แก่ การออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ทั้ง3ชั้น และการออกแบบกราฟิก โดยมีข้อควรคำนึงถึงดังนี้
     1.บรรจุภัณฑ์ควรมีเอกลักษณ์โดดเด่นสะดุดตาและสื่อความหมายได้ ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และความรู้ทางด้านศิลปะเกี่ยวกับสี รูปทรง ความสมดุล ผิวสัมผัส และขนาดของภาพหรือตัวอักษรมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน
     2.บรรจุภัณฑ์ควรสะดวกต่อการใช้งานและแข็งแรงทนทาน โดยโครงสร้างต้องสมส่วน มีรูปทรงกะทัดรัด สะดวกในการจัดเรียงและขนส่งรองรับน้ำหนักได้ และทนทานต่อแรงกระแทก
     3.บรรจุภัณฑ์ควรเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ง่าย ทำลายได้ง่าย ไม่ก่อให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอย และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ โดยมีแนวทางดังนี้
-ใช้วัสดุจากธรรมชาติ เพราะย่อยสลายได้ง่าย
-ลดส่วนประกอบที่เกินความจำเป็นในบรรจุภัณฑ์ เช่น ลดการใช้เชือก โบ และป้ายห้อย
-ลดความหนาและความสูงของบรรจุภัณฑ์ และออกแบบให้ใช้วัสดุน้อยที่สุด
-นำวัสดุธรรมชาติ เช่น กระดาษ ไม้ ผ้า เครื่องปั้นดินเผา และวัสดุสังเคราะห์ เช่น พลาสติกบางชนิด ซึ่งสามาถรนำมาดัดแปลงใช้ซ้ำหรือแปรรูปนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มาประดิษฐ์เป็นบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดปริมาณขยะ ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดหลังใช้งาน และป้องกันการเกิดมลพิษจากการเผาไหม้หรือฝังกลบ

    ตัวอย่างการประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ
    1.บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็งพับได้
     กล่องกระดาษแข็งพับได้ประดิษฐ์จากกระดาษแข็งหน้าเดียวที่มีช่องด้านบนเปิดให้เห็นสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ด้านในเป็นบรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้กับอาหาร เช่น ขนมเค้ก ขนมชั้น ขนมหม้อแกง และงานประดิษฐ์ที่มีน้ำหนักเบา เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์ ตุ๊กตาประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ
     การประดิษฐ์กล่องกระดาษแข็งพับได้ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทุกขนาด โดยก่อนประดิษฐ์ต้องวัดขนาดของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ก่อน จึงจะกำหนดกล่องกระดาษให้พอดี ไม่คับแคบหรือมีพื้นที่ในกล่องมากเกินไป เพื่อไม่ให้ก่อความเสียหายให้แก่สินค้าและผลิตภัณฑ์      
     การประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็งพับได้ มีวัสดุ อุปกรณ์และขั้นตอนการทำ ดังนี้
     วัสดุ อุปกรณ์
• กระดาษแข็งหน้าเดียว                                
• ไม่บรรทัด
• กรรไกร
• วงเวียน
• แผ่นพลาสติกใส  
• ยางลบ
• คัตเตอร์
• กาว
• กระดาษ A4
• ดินสอ
    ขั้นตอนการทำ
    1.ออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบกล่องพับโดยร่างภาพ 3 มิติ ลงบนกระดาษถ่ายเอกสาร A4
    2.ร่างภาพโครงสร้างบรรจุภัณฑ์แบบกล่องพับได้ ตามที่ออกแบบไว้ลงบนกระดาษแข็งหน้าเดียว
    3.กำหนดกระดาษของกล่อง กว้าง  ยาว  สูง ให้สามารถที่บรรจุสินค้าได้ ทำเป็นสัดส่วนจริง จากนั้นนำแบบกล่องที่ได้มาเขียนเป็นภาพแผ่นคลี่ กำหนดส่วนประกอบของตัวกล่อง กำหนดจุดตัด จุดพับ

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็งพับได้

    4. ใช้กรรไกรหรือคัตเตอร์ตัดกระดาษตามรูปแบบที่ร่างไว้ และใชคัตเตอร์กรีดตามรอยพับเบาๆ อย่าให้ขาดออกจากกัน เพื่อให้ง่ายต่อการพับกระดาษเป็นรูปทรง
    5.พับกระกาตามรอยกรีด จัดรูปทรงให้เป็นกล่องที่สวยงาม ไม่บิดเบี้ยว จากนั้นจึงทากาวรอยต่อให้สนิท หรือใช้ลวดเย็บกระดาษเย็บประกอบกล่อง
    6.วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางช่องบนฝากล่อง แล้วตัดพลาสติกให้มีขนาดใหญ่กว่าเส้นรอบวงประมาณ 1 นิ้ว แล้วทากาวบริเวณส่วนเกินเส้นรอบวง ติดด้านในที่ช่องบนฝากล่อง

    ข้อเสนอแนะ 
    1.ฝากล่องสามารถเปิด-ปิดได้พอดี มุมพับของฝาอาจต้องตัดเจียนมุมออกถ้ากระดาษหนามากเกินไป เพื่อป้องกันการเบียดเสียดจนกระดาฉีกขาดเมื่อประกอบหรือพับสอด ซ้อนทับกัน
    2.ช่องบนฝากล่อง ควรตัดให้ได้ขนาดพอเหมาะกับบรรจุภัณฑ์ และสารมารถมองเห็นสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในได้อย่างชัดเจน

    2. ชะลอมประยุกต์
    งานจักสานเป็นหัตถกรรมที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่รู้จักน้ำวัสดุธรรมชาติ  เช่น  หวาย ไม้ไผ่ ใบลาน กก ฟาง ก้านและใบมะพร้าว มาประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้สอยในการดำรงชีวิตประจำวันเครื่องจักสานทำขึ้นด้วยมือ ซึ่งต่างจากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโรงงานอุตสาหกรรม จึงมีคุณค่าเฉพาะตัว ลวดลายจากการสาร ถัก ทอ และรูปแบบเครื่องจักสานแต่ล่ะชิ้นแสดงถึงลักษณะพื้นบ้านที่แตกต่างกัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 2. ชะลอมประยุกต์

    การสานชะลอมเป็นการนำตอกไม้ไผ่มาสานขัดกันแบบโปร่ง ๆ เป็นลายเฉลว ค่อย ๆ เพิ่มตอกเข้าไปทีละเส้นจนได้พื้นหรือส่วนก้นของชะลอมเป็นรูป 6 เหลี่ยม สานต่อจนได้ความสูงตามต้องการที่ปากชะลอมจะเหลือตอกไว้ สำหรับมัดปิดของที่อยู่ภายใน  และใช้เป็นที่หิ้วไปด้วย ในอดีตชะลอมใช้ใส่ของแห้งต่างๆ สำหรับเดินทาง ในปัจจุบันมีการสานชะลอมประยุกต์โดยสานเป็นใบเล็กๆ สำหรับใส่ของชำร่วย ใส่ขนม หรือสารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม เพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เน้นเอกลักษณ์ไทย
    การประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์ชะลอมประยุกต์มีวัสดุ อุปกรณ์ และขั้นตอนการทำ ดังนี้
    วัสดุ อุปกรณ์
• ตอกที่จักสำเร็จขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 180 เซนติเมตร จำนวน 12 เส้น
• กรรไกร
• ดินสอ กระดาษถ่ายเอกสาร A4
• ตัวหนีบผ้าหรือหนีบกระดาษ 6 ตัว
• สิ่งของตกแต่ง เช่น ดอกไม้แห้ง ดอกไม้ประดิษฐ์
• กาวซิลิโคนชนิดแท่ง และปืนยิงกาว
• แม่พิมพ์ ทำจากดินเหนียว ไม้ หรือแกนเทปกาว
 
     ขั้นตอนการทำ
    1.ออกแบบชะลอมประยุกต์โดยร่างภาพ 3 มิติ ลงบนกระดาษ A4
    2.ลงมือสานชะลอมตามที่ออกแบบไว้ โดยเริ่มจากสานก้นชะลอม นำตอกมาวางไขว้กันเป็นรูปากบาท
    3.สานตอกขัดกันทั้งด้านบนและด้านล่าง เพิ่มตอกทีละเส้นโดยต้องหมุนสลับข้างไปเรื่อยๆ จนได้ความกว้างของก้นชะลอมตามที่ต้องการ ซึ่งจะเห็นว่าตอกทุกเส้นขัดดันธรรมดา แบบยก 1 ข้าม 1 จนได้รูปหกเหลี่ยมเป็นจุดศูนย์กลาง 1 รูป  และมีรูปหกเหลี่ยมล้อมรอบ
    4.สานสายขัดเวียนก้นชะลอมเพื่อขึ้นเป็นตัวชะลอม โดยเริ่มจากด้านใดด้านหนึ่งโน้มปลายตอกตั้งหรือตอกยืนให้ตั้งฉากกับก้นชะลอมทั้ง 6 ด้าน เพื่อขึ้นรูปชะลอม โดยนำเส้นตอกสานมาขัดตามแนวนอนทีละเส้น สานวนรอบเป็นวงกลม วงจนหมดความยาวของตอก ปลายตอกที่เหลือจึงทับซ้อนกับจุดเริ่มต้น ซึ่งขั้นตอนนี้ให้ใช้ตัวหนีบผ้าหรือตัวหนีบกระดาษช่วย จะทำให้สานได้สะดวกมากขึ้น
    5.วางแม่พิมพ์ตรงบริเวณก้นชะลอม จากนนั้นนำตอกมาสานลักษณะเดียวกันอีก แถวละ 2เส้นโดยรอบ เว้นระยะห่างประมาณ 1.5 เซนติเมตร สานต่อไปให้ขึ้นรูปทรงจะได้ชะลอมขนาดตามแม่พิมพ์แล้วจึงดึงแม่พิมพ์ออก
    6.เมื่อสานจนได้ความสูงตามที่ต้องการ ถ้าเหลือตอกไว้ใช้สำหรับมัดปิดของที่อยู่ภายในและใช้เป๋นที่หิ้วไปด้วย แต่ถ้าจะทำเป็นตระกร้าที่มีฝาปิด ให้ตัดปลายตอกออกให้เรียบร้อย
    7. เมื่อตัดออกแล้วนำตอกเส้นเล็ก มาสานขัดรอบปากชะลอมกันหลุด โดยค่อยๆพับเส้นยืนทีละเส้นให้แนบไปกับตัวชะลอม ดึงให้แน่น ขัดซ้อนเงื่อนเส้นตอกเส้นยืนให้เรียบร้อย
    8. การสานผ่าชะลอมประยุกต์ ทำเช่นเดียว กับตัวชะลอม เเต่เพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้นเล็กน้อย
    9. ตกแต่งให้สวยงานด้วยการนำดอกไม้แห้งหรือดอกไม้ประดิษฐ์มาบนฝาชะลอมประยุกต์แล้วตรวจดูความเรียบร้อยในขั้นตอนสุดท้าย  

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีทำชะลอมประยุกต์

    ข้อเสนอแนะ
    1. ให้นำตอกไปชุบน้ำก่อนสาน จะทำให้ตอกนิ่ม อ่อนตัว สานได้ง่ายขึ้น ไม่หักขณะที่สาน
    2. สามารถนำตอกไปย้อมให้เป็นสีต่างๆตามที่ต้องการ
    3. ถ้าสานชะลอมใบใหญ่ให้นำไม้มาสานขัดก้นชะลอม เพื่อให้รับนำ้หนักของผลิตภัณฑ์ที่จะใส่ลงไปในชะลอม

    3. ถุงผ้าแบบหูรูด
 ปัจจุบันมีการผลิตถุงผ้าหลากหลายขนาดและรูปแบบเพื่อตอบสนองประโยชน์ใช้สอยที่มีความแตกต่างกันออกไปถ้าสามารถประดิษฐ์ถุงผ้าอย่างได้ด้วยตนเอง จะเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว ลดค่าใช้จ่าย และสามารถนำถุงผ้ากลับมาใช้ซำ้ได้ ซึ่งเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกวิธีหนึ่ง
   การประดิษฐ์แบบหูรูดมีวัสดุ อุปกรณ์ และขั้นตอนการทำ ดังนี้
   วัสดุ อุปกรณ์
- ผ้าตามที่ต้องการ เช่น ผ้าดิบ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าไหมแก้ว ผ้าโปร่ง
- เข็ม ด้าย กรรไกร
- เตารีด
- ไม้บรรทัด
- วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่ง เช่น สีเพนต์ พู่กัน สะดึง ไหมปัก
- เชือก
- ดินสอหรือชอล์กเขียนผ้า 
    ขั้นตอนการทำ
    1.ตัดผ้าให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 69 เซนติเมตร ในกรณีที่จะใช้บรรจุผ้าไหม กรอบรูป หรือกระเป๋า หรือกำหนดความกว้าง ความยาวตามขนาดสิ่งของที่จะใส่บรรจุ
    2.พับทบชายผ้าด้านกว้างเข้าหากัน ใช้ดินสอวัดจากระยะก้นถุงขึ้นมาประมาณ 20-25 เซนติเมตร ใช้ชอล์กเขียนผ้าทำเครื่องหมายไว้โดยเว้นระยะด้านบนปากถุงไว้ โดยเว้นระยะด้านบนปากถุงไว้จากนั้นวัดระยะห่างจากขอบผ้าซ้ายและขวาเข้ามาข้างละ 1-2 เซนติเมตร และใช่ชอล์กเขียนผ้าขีดเส้นเป็นแนวเย็บบางๆ
     3.เนาผ้าตามรอยที่ขีดไว้ แล้วเย็บแบบด้นถอยหลัง หรือเย็บด้วยจักรเย็บผ้าตามรอยที่เนาไว้ทั้งสองข้าง
     4.ใช้กรรไกรตัดขอบผ้าออกให้เรียบร้อย
     5.เนาและเย็บตะเข็บบริเวณรอยผ่าของปากถุงทั้ง 2 ด้าน
     6.พับทบผ้าบริเวณปากถุงลงมาเพื่อเย็บประมาณ 7-10 เซนติเมตร แล้วเนาผ้าตามระยะที่พับลงมา
     7.กะระยะสำหรับเย็บเพื่อใช้สอดเส้นเชือก โดยแนวเย็บแรกห่างขึ้นมาจากผ้าเล็กน้อยและแนวเย็บที่สองต้องเว้นระยะให้พอที่จะสอดเส้นเชือกเข้าไปได้ ซึ่งห่างจากแนวเย็บแรกประมาณ 1.5 เซนติเมตร
     8.พลิกกลับเอาผ้าด้านในออกมา แล้วใช้เตารีด รีดถุงผ้าให้เรียบร้อย 
     9.สอดเส้นเชือกสำหรับรูดปากถุง โดยกะระยะเส้นเชือกที่ต้องการใช้ แล้วตัด 2 เส้น กะระยะพอรอบปากถุง จากนั้นสอดเชือกเข้าไปในช่อง 2 เส้นคู่ ผูกชายเส้นเชือกไว้คนละด้านกัน จะได้ถุงที่มีหูรูดตามต้องการ
     10.ตกแต่งด้านหน้าของถุงผ้าให้สวยงามด้วยการเพนต์ลวดลาย หรือปักด้วยไหมปัก จากนั้นนำไปรีดให้เรียบร้อย ก่อนนำไปใช้บรรจุสิ่งของ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีทําถุงผ้าแบบหูรูด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีทําถุงผ้าแบบหูรูด

    ผู้จัดทำ
เด็กหญิงชญานิน ใจถวิล           เลขที่18
เด็กหญิงอาทิตยา จันทร์ม่อม     เลขที่20
เด็กหญิงพิมพ์วิภา นิยมราษฎร์   เลขที่26
เด็กหญิงฐิติชญา ใสยิ่ง              เลขที่27
เด็กหญิงสาธิตา วิอังศุธร            เลขที่32
เด็กหญิงกชวรรณ ประสาททอง เลขที่31

1 ความคิดเห็น: