วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2560

บทที่ 3 การประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์จากวัตถุธรรมชาติ


    ความรู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์
    ความหมายของบรรจุภัณฑ์
    หมายถึง วัตถุหรือวัสดุที่ใช้ใส่ ห่อ หุ้มสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ โดยต้องปกป้องคุ้มครองสิ่งของภายในให้มีความปลอดภัย สะดวกต่อการใช้งาน ขนส่ง เคลื่อนย้าย และส่งเสริมการจำหน่าย
    ความเป็นมา
    ใช้ใบไม้ เปลือกไม้ เปลือกหอย กระบอกไม้ไผ่ หนังสัตว์ มาห่อหุ้มเพื่อป้องกันแมลง แสงแดดและฝน
    ใช้ใบไม้ เช่น ใบตองมาหุ้ม นำเปลือกไม้มาสานขึ้นรูป
    ใช้กระดาษหรือผ้ามาห่อหุ้ม
    ใช้กระดาษแข็ง แผ่นโลหะ พลาสติก แก้ว ไม้ ใยสังเคราะห์มาห่อหุ้ม
    หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ 
    1.ปกป้องคุ้มครองสินค้าหรือผลิตภัณฑ์  โดยบรรจุภัณฑ์ต้องได้รับการออกแบบให้สามารถปกป้องสินค้าภายในได้ ไม่เสียหายจากการขนส่ง แมลงหรือสัตว์กัดแทะ แตกหักและเสื่อมสภาพ
    2.อำนวยความสะดวกต่อการขนส่ง เคลื่อนย้าย เก็บรักษา โดยบรรจุภัณฑ์ต้องมีความมั่นคงและแข็งแรง สามารถวางซ้อนทับได้หลายชั้น สะดวกต่อการจับ ถือ พกพา และขนส่ง
    3.ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ควรแสดงให้เห็นตัวสินค้า หรือบ่งบอกว่าสินค้าภายในคืออะไร ใครผลิต มีวิธีใช้และเก็บรักษาอย่างไร
    4.ส่งเสริมการขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ต้องมีรูปแบบ สีสันสวยงาม สะดุดตา ดึงดูดใจผู้ซื้อ แตกต่างจากคู่แข่งทางการตลาดเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ
    5.เพิ่มมูลค่าของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เมื่อบรรจุภัณฑ์มีความสวยงามดึงดูดใจผู้ซื้อจะสร้างความนิยมและส่งผลให้ขายสินค้าได้ในราคาที่สูงขึ้น
    6.รณรงค์ในเรื่องต่างๆ บรรจุภัณฑ์ต้องมีสัญลักษณ์ ภาพ ฉลาก หรือข้อความโน้มน้าวใจให้ผู้ซื้อต้องการมีส่วนร่วมในการทำเพื่อส่วนร่วม
    บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบและประดิษฐ์มาเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยลดปริมาณขยะและย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ประหยัดค่าใช้จ่าย เมื่อใช้วัสดุที่มีมากในท้องถิ่นมาทำบรรจุภัณฑ์
    วัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ
    1.วัสดุประเภทเส้นใย เช่น กล้วย หวาย เตยปาหนัน กก กระจูด ผักตบชวา ซึ่งก่อนนำมาสานเป็นบรรจุภัณฑ์ต้องผ่านการแปรสภาพด้วยการตากแห้ง ฟอกขาว ฯลฯ
    2.วัสดุที่แปรรูปเป็นแผ่น และรูปทรงต่างๆ เช่น กระดาษ
    3.วัสดุประเภทไม้ เช่น ไม้สัก ไม้ไผ่ ไม้มะขาม
    การออกแบบบรรจุภัณฑ์จากวัมดุธรรมชาติ
    โดยทั่วไปจะแบ่งชั้นของบรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้มหรือปกปิดตัวสินค้าไว้3ชั้น ดังนี้
    1.บรรจุภัณฑ์ชั้นใน ซึ่งอยู่ชิดกับตัวสินค้า
    2.บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สอง ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ชั้นใน
    3.บรรจุภัณฑ์ชั้นนอก รวบรวมสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเพื่อขนส่ง
    การออกแบบบรรจุภัณฑ์จะต้องออกแบบ2ส่วนด้วยกัน ได้แก่ การออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ทั้ง3ชั้น และการออกแบบกราฟิก โดยมีข้อควรคำนึงถึงดังนี้
     1.บรรจุภัณฑ์ควรมีเอกลักษณ์โดดเด่นสะดุดตาและสื่อความหมายได้ ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และความรู้ทางด้านศิลปะเกี่ยวกับสี รูปทรง ความสมดุล ผิวสัมผัส และขนาดของภาพหรือตัวอักษรมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน
     2.บรรจุภัณฑ์ควรสะดวกต่อการใช้งานและแข็งแรงทนทาน โดยโครงสร้างต้องสมส่วน มีรูปทรงกะทัดรัด สะดวกในการจัดเรียงและขนส่งรองรับน้ำหนักได้ และทนทานต่อแรงกระแทก
     3.บรรจุภัณฑ์ควรเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ง่าย ทำลายได้ง่าย ไม่ก่อให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอย และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ โดยมีแนวทางดังนี้
-ใช้วัสดุจากธรรมชาติ เพราะย่อยสลายได้ง่าย
-ลดส่วนประกอบที่เกินความจำเป็นในบรรจุภัณฑ์ เช่น ลดการใช้เชือก โบ และป้ายห้อย
-ลดความหนาและความสูงของบรรจุภัณฑ์ และออกแบบให้ใช้วัสดุน้อยที่สุด
-นำวัสดุธรรมชาติ เช่น กระดาษ ไม้ ผ้า เครื่องปั้นดินเผา และวัสดุสังเคราะห์ เช่น พลาสติกบางชนิด ซึ่งสามาถรนำมาดัดแปลงใช้ซ้ำหรือแปรรูปนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มาประดิษฐ์เป็นบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดปริมาณขยะ ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดหลังใช้งาน และป้องกันการเกิดมลพิษจากการเผาไหม้หรือฝังกลบ

    ตัวอย่างการประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ
    1.บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็งพับได้
     กล่องกระดาษแข็งพับได้ประดิษฐ์จากกระดาษแข็งหน้าเดียวที่มีช่องด้านบนเปิดให้เห็นสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ด้านในเป็นบรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้กับอาหาร เช่น ขนมเค้ก ขนมชั้น ขนมหม้อแกง และงานประดิษฐ์ที่มีน้ำหนักเบา เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์ ตุ๊กตาประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ
     การประดิษฐ์กล่องกระดาษแข็งพับได้ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทุกขนาด โดยก่อนประดิษฐ์ต้องวัดขนาดของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ก่อน จึงจะกำหนดกล่องกระดาษให้พอดี ไม่คับแคบหรือมีพื้นที่ในกล่องมากเกินไป เพื่อไม่ให้ก่อความเสียหายให้แก่สินค้าและผลิตภัณฑ์      
     การประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็งพับได้ มีวัสดุ อุปกรณ์และขั้นตอนการทำ ดังนี้
     วัสดุ อุปกรณ์
• กระดาษแข็งหน้าเดียว                                
• ไม่บรรทัด
• กรรไกร
• วงเวียน
• แผ่นพลาสติกใส  
• ยางลบ
• คัตเตอร์
• กาว
• กระดาษ A4
• ดินสอ
    ขั้นตอนการทำ
    1.ออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบกล่องพับโดยร่างภาพ 3 มิติ ลงบนกระดาษถ่ายเอกสาร A4
    2.ร่างภาพโครงสร้างบรรจุภัณฑ์แบบกล่องพับได้ ตามที่ออกแบบไว้ลงบนกระดาษแข็งหน้าเดียว
    3.กำหนดกระดาษของกล่อง กว้าง  ยาว  สูง ให้สามารถที่บรรจุสินค้าได้ ทำเป็นสัดส่วนจริง จากนั้นนำแบบกล่องที่ได้มาเขียนเป็นภาพแผ่นคลี่ กำหนดส่วนประกอบของตัวกล่อง กำหนดจุดตัด จุดพับ

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็งพับได้

    4. ใช้กรรไกรหรือคัตเตอร์ตัดกระดาษตามรูปแบบที่ร่างไว้ และใชคัตเตอร์กรีดตามรอยพับเบาๆ อย่าให้ขาดออกจากกัน เพื่อให้ง่ายต่อการพับกระดาษเป็นรูปทรง
    5.พับกระกาตามรอยกรีด จัดรูปทรงให้เป็นกล่องที่สวยงาม ไม่บิดเบี้ยว จากนั้นจึงทากาวรอยต่อให้สนิท หรือใช้ลวดเย็บกระดาษเย็บประกอบกล่อง
    6.วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางช่องบนฝากล่อง แล้วตัดพลาสติกให้มีขนาดใหญ่กว่าเส้นรอบวงประมาณ 1 นิ้ว แล้วทากาวบริเวณส่วนเกินเส้นรอบวง ติดด้านในที่ช่องบนฝากล่อง

    ข้อเสนอแนะ 
    1.ฝากล่องสามารถเปิด-ปิดได้พอดี มุมพับของฝาอาจต้องตัดเจียนมุมออกถ้ากระดาษหนามากเกินไป เพื่อป้องกันการเบียดเสียดจนกระดาฉีกขาดเมื่อประกอบหรือพับสอด ซ้อนทับกัน
    2.ช่องบนฝากล่อง ควรตัดให้ได้ขนาดพอเหมาะกับบรรจุภัณฑ์ และสารมารถมองเห็นสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในได้อย่างชัดเจน

    2. ชะลอมประยุกต์
    งานจักสานเป็นหัตถกรรมที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่รู้จักน้ำวัสดุธรรมชาติ  เช่น  หวาย ไม้ไผ่ ใบลาน กก ฟาง ก้านและใบมะพร้าว มาประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้สอยในการดำรงชีวิตประจำวันเครื่องจักสานทำขึ้นด้วยมือ ซึ่งต่างจากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโรงงานอุตสาหกรรม จึงมีคุณค่าเฉพาะตัว ลวดลายจากการสาร ถัก ทอ และรูปแบบเครื่องจักสานแต่ล่ะชิ้นแสดงถึงลักษณะพื้นบ้านที่แตกต่างกัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 2. ชะลอมประยุกต์

    การสานชะลอมเป็นการนำตอกไม้ไผ่มาสานขัดกันแบบโปร่ง ๆ เป็นลายเฉลว ค่อย ๆ เพิ่มตอกเข้าไปทีละเส้นจนได้พื้นหรือส่วนก้นของชะลอมเป็นรูป 6 เหลี่ยม สานต่อจนได้ความสูงตามต้องการที่ปากชะลอมจะเหลือตอกไว้ สำหรับมัดปิดของที่อยู่ภายใน  และใช้เป็นที่หิ้วไปด้วย ในอดีตชะลอมใช้ใส่ของแห้งต่างๆ สำหรับเดินทาง ในปัจจุบันมีการสานชะลอมประยุกต์โดยสานเป็นใบเล็กๆ สำหรับใส่ของชำร่วย ใส่ขนม หรือสารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม เพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เน้นเอกลักษณ์ไทย
    การประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์ชะลอมประยุกต์มีวัสดุ อุปกรณ์ และขั้นตอนการทำ ดังนี้
    วัสดุ อุปกรณ์
• ตอกที่จักสำเร็จขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 180 เซนติเมตร จำนวน 12 เส้น
• กรรไกร
• ดินสอ กระดาษถ่ายเอกสาร A4
• ตัวหนีบผ้าหรือหนีบกระดาษ 6 ตัว
• สิ่งของตกแต่ง เช่น ดอกไม้แห้ง ดอกไม้ประดิษฐ์
• กาวซิลิโคนชนิดแท่ง และปืนยิงกาว
• แม่พิมพ์ ทำจากดินเหนียว ไม้ หรือแกนเทปกาว
 
     ขั้นตอนการทำ
    1.ออกแบบชะลอมประยุกต์โดยร่างภาพ 3 มิติ ลงบนกระดาษ A4
    2.ลงมือสานชะลอมตามที่ออกแบบไว้ โดยเริ่มจากสานก้นชะลอม นำตอกมาวางไขว้กันเป็นรูปากบาท
    3.สานตอกขัดกันทั้งด้านบนและด้านล่าง เพิ่มตอกทีละเส้นโดยต้องหมุนสลับข้างไปเรื่อยๆ จนได้ความกว้างของก้นชะลอมตามที่ต้องการ ซึ่งจะเห็นว่าตอกทุกเส้นขัดดันธรรมดา แบบยก 1 ข้าม 1 จนได้รูปหกเหลี่ยมเป็นจุดศูนย์กลาง 1 รูป  และมีรูปหกเหลี่ยมล้อมรอบ
    4.สานสายขัดเวียนก้นชะลอมเพื่อขึ้นเป็นตัวชะลอม โดยเริ่มจากด้านใดด้านหนึ่งโน้มปลายตอกตั้งหรือตอกยืนให้ตั้งฉากกับก้นชะลอมทั้ง 6 ด้าน เพื่อขึ้นรูปชะลอม โดยนำเส้นตอกสานมาขัดตามแนวนอนทีละเส้น สานวนรอบเป็นวงกลม วงจนหมดความยาวของตอก ปลายตอกที่เหลือจึงทับซ้อนกับจุดเริ่มต้น ซึ่งขั้นตอนนี้ให้ใช้ตัวหนีบผ้าหรือตัวหนีบกระดาษช่วย จะทำให้สานได้สะดวกมากขึ้น
    5.วางแม่พิมพ์ตรงบริเวณก้นชะลอม จากนนั้นนำตอกมาสานลักษณะเดียวกันอีก แถวละ 2เส้นโดยรอบ เว้นระยะห่างประมาณ 1.5 เซนติเมตร สานต่อไปให้ขึ้นรูปทรงจะได้ชะลอมขนาดตามแม่พิมพ์แล้วจึงดึงแม่พิมพ์ออก
    6.เมื่อสานจนได้ความสูงตามที่ต้องการ ถ้าเหลือตอกไว้ใช้สำหรับมัดปิดของที่อยู่ภายในและใช้เป๋นที่หิ้วไปด้วย แต่ถ้าจะทำเป็นตระกร้าที่มีฝาปิด ให้ตัดปลายตอกออกให้เรียบร้อย
    7. เมื่อตัดออกแล้วนำตอกเส้นเล็ก มาสานขัดรอบปากชะลอมกันหลุด โดยค่อยๆพับเส้นยืนทีละเส้นให้แนบไปกับตัวชะลอม ดึงให้แน่น ขัดซ้อนเงื่อนเส้นตอกเส้นยืนให้เรียบร้อย
    8. การสานผ่าชะลอมประยุกต์ ทำเช่นเดียว กับตัวชะลอม เเต่เพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้นเล็กน้อย
    9. ตกแต่งให้สวยงานด้วยการนำดอกไม้แห้งหรือดอกไม้ประดิษฐ์มาบนฝาชะลอมประยุกต์แล้วตรวจดูความเรียบร้อยในขั้นตอนสุดท้าย  

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีทำชะลอมประยุกต์

    ข้อเสนอแนะ
    1. ให้นำตอกไปชุบน้ำก่อนสาน จะทำให้ตอกนิ่ม อ่อนตัว สานได้ง่ายขึ้น ไม่หักขณะที่สาน
    2. สามารถนำตอกไปย้อมให้เป็นสีต่างๆตามที่ต้องการ
    3. ถ้าสานชะลอมใบใหญ่ให้นำไม้มาสานขัดก้นชะลอม เพื่อให้รับนำ้หนักของผลิตภัณฑ์ที่จะใส่ลงไปในชะลอม

    3. ถุงผ้าแบบหูรูด
 ปัจจุบันมีการผลิตถุงผ้าหลากหลายขนาดและรูปแบบเพื่อตอบสนองประโยชน์ใช้สอยที่มีความแตกต่างกันออกไปถ้าสามารถประดิษฐ์ถุงผ้าอย่างได้ด้วยตนเอง จะเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว ลดค่าใช้จ่าย และสามารถนำถุงผ้ากลับมาใช้ซำ้ได้ ซึ่งเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกวิธีหนึ่ง
   การประดิษฐ์แบบหูรูดมีวัสดุ อุปกรณ์ และขั้นตอนการทำ ดังนี้
   วัสดุ อุปกรณ์
- ผ้าตามที่ต้องการ เช่น ผ้าดิบ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าไหมแก้ว ผ้าโปร่ง
- เข็ม ด้าย กรรไกร
- เตารีด
- ไม้บรรทัด
- วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่ง เช่น สีเพนต์ พู่กัน สะดึง ไหมปัก
- เชือก
- ดินสอหรือชอล์กเขียนผ้า 
    ขั้นตอนการทำ
    1.ตัดผ้าให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 69 เซนติเมตร ในกรณีที่จะใช้บรรจุผ้าไหม กรอบรูป หรือกระเป๋า หรือกำหนดความกว้าง ความยาวตามขนาดสิ่งของที่จะใส่บรรจุ
    2.พับทบชายผ้าด้านกว้างเข้าหากัน ใช้ดินสอวัดจากระยะก้นถุงขึ้นมาประมาณ 20-25 เซนติเมตร ใช้ชอล์กเขียนผ้าทำเครื่องหมายไว้โดยเว้นระยะด้านบนปากถุงไว้ โดยเว้นระยะด้านบนปากถุงไว้จากนั้นวัดระยะห่างจากขอบผ้าซ้ายและขวาเข้ามาข้างละ 1-2 เซนติเมตร และใช่ชอล์กเขียนผ้าขีดเส้นเป็นแนวเย็บบางๆ
     3.เนาผ้าตามรอยที่ขีดไว้ แล้วเย็บแบบด้นถอยหลัง หรือเย็บด้วยจักรเย็บผ้าตามรอยที่เนาไว้ทั้งสองข้าง
     4.ใช้กรรไกรตัดขอบผ้าออกให้เรียบร้อย
     5.เนาและเย็บตะเข็บบริเวณรอยผ่าของปากถุงทั้ง 2 ด้าน
     6.พับทบผ้าบริเวณปากถุงลงมาเพื่อเย็บประมาณ 7-10 เซนติเมตร แล้วเนาผ้าตามระยะที่พับลงมา
     7.กะระยะสำหรับเย็บเพื่อใช้สอดเส้นเชือก โดยแนวเย็บแรกห่างขึ้นมาจากผ้าเล็กน้อยและแนวเย็บที่สองต้องเว้นระยะให้พอที่จะสอดเส้นเชือกเข้าไปได้ ซึ่งห่างจากแนวเย็บแรกประมาณ 1.5 เซนติเมตร
     8.พลิกกลับเอาผ้าด้านในออกมา แล้วใช้เตารีด รีดถุงผ้าให้เรียบร้อย 
     9.สอดเส้นเชือกสำหรับรูดปากถุง โดยกะระยะเส้นเชือกที่ต้องการใช้ แล้วตัด 2 เส้น กะระยะพอรอบปากถุง จากนั้นสอดเชือกเข้าไปในช่อง 2 เส้นคู่ ผูกชายเส้นเชือกไว้คนละด้านกัน จะได้ถุงที่มีหูรูดตามต้องการ
     10.ตกแต่งด้านหน้าของถุงผ้าให้สวยงามด้วยการเพนต์ลวดลาย หรือปักด้วยไหมปัก จากนั้นนำไปรีดให้เรียบร้อย ก่อนนำไปใช้บรรจุสิ่งของ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีทําถุงผ้าแบบหูรูด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีทําถุงผ้าแบบหูรูด

    ผู้จัดทำ
เด็กหญิงชญานิน ใจถวิล           เลขที่18
เด็กหญิงอาทิตยา จันทร์ม่อม     เลขที่20
เด็กหญิงพิมพ์วิภา นิยมราษฎร์   เลขที่26
เด็กหญิงฐิติชญา ใสยิ่ง              เลขที่27
เด็กหญิงสาธิตา วิอังศุธร            เลขที่32
เด็กหญิงกชวรรณ ประสาททอง เลขที่31

บทที่ 2 อาหารประเภทสำรับ


    บทที่ 2 อาหารประเภทสำรับ

    ความหมายและความสำคัญของอาหารประเภทสำรับ
    อาหารประเภทสำรับ หมายถึง อาหารที่จัดเป็นชุด มีอาหารหลายอย่าง หลายรสชาติ หลายลักษณะ  ซึ่งสามารถรับประทานร่วมกันได้ รสชาติต้องไม่ขัดแย้งกันในกลุ่มของสำรับ แล้วให้ความอร่อยเมื่อรับประทานทั้งชุด
    อาหารประเภทสำรับมักจัดในมื้อหลัก ได้แก่ เช้า กลางวัน และเย็น บางชุดจะเป็นอาหารคาว  บางชุดมีทั้งอาหารคาว อาหารหวาน และผลไม้ อาหารชุดเหล่านี้ นิยาจัดใส่ถ้วน จาน ชามที่สวยงาม  แล้วนำอาหารที่ใส่ในภาชนะนี้มาจัดลงรวมกันในภาชนะกว้างๆ เช่น ถาด โตก แล้วแต่วัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น เพื่อรับประทานในครัวเรือน หรือใช้จัดเลี้ยงในโอกาสพิเศษ
    อาการสำรับมีความสำคัญหลายประการ  ดังนี้
    1.มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เพราะประกอบด้วยสารอาหารหลัก 5 หมู่
    2.แสดงถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทยจากการมีเครื่องเคียง เครื่องแนม แกะสลักผัก และผลไม้เป็นภาชนะใส่อาหาร หรือตกแต่งอาหารให้สวยงาม
    3.สะดวกต่อการรับประทานและบริการอาหาร เพราะจัดใส่ภาชนะที่เหมาะสม
    4.เหมาะสำหรับจักเลี้ยงในโอกาสพิเศษ  เพราะมีความประณีตในการจัดตกแต่งและบริการ

    ประเภทของอาหารสำรับ
อาหารสำรับแบ่งตามลักษณะของอาหารและการประกอบอาหารได้ 3 ประเภท  ดังนี้
    1.อาหารที่ต้องมีเครื่องเคียงและเครื่องแนม โดยเครื่องเคียงเป็นอาหารคนละอย่าง แต่นำมารับประทานด้วยกัน เพื่อเสริมรสชาติซึ่งกันและกัน เช่น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เนื้อเค็มเคียงกับแกงเผ็ด
เนื้อเค็มเคียงกับแกงเผ็ด
    2.อาหารที่ต้องจัดชุดเข้ากับข้าวซึ่งเป็นอาหารหลัก ในแต่ละภาคของไทยจะต้องมีอาหารหลายชนิดที่จัดชุดเข้ากับข้าวเพื่อรับประทานร่วมกัน ซึ่งอาหารที่จัดร่วมกันนี้มีทั้งอาหาร ต้ม ผัด แกง ทอด หรือน้ำพริก ผักสด ผักต้ม ดังตัวอย่าง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้าวสวยจัดกับแกงมัสมั่น
ภาคกลาง ข้าวสวยจัดกับแกงมัสมั่น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ำพริกหนุ่ม ผักสด
ภาคเหนือ น้ำพริกหนุ่ม ผักสด
    3.อาหารที่ต้องคลุกเคล้าด้วยกันเป็นอาหารจานเดียว เป็นอาหารที่ใช้เครื่องปรุงหลายอย่างจัดแยกมาต่างหาก เวลารับประทานจึงคลุกเคล้ากับข้าวหรือขนมจีน ดังตัวอย่าง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขนมจีนซาวน้ำ
ขนมจีนชาวน้ำ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้าวยำ
ข้าวยำ

    หลักการเตรียม ประกอบ จัด ตกแต่งอาหารประเภทสำรับ
    1.เตรียมส่วนผสม เครื่องปรุงอาหารวัสดุ อุปกรณ์ในการประกอบอาหารและจัดตกแต่งอาหารก่อนประกอบอาหาร
    2.ประกอบอาหารอย่างมีสุขอนามัยและสงวนคุณค่าทางอาหาร
    3.จัดอาหารใส่ภาชนะที่เหมาะสม สวยงาม
    4.ตกแต่งอาหารให้สวยงามน่ารับประทาน โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น

    อาหารสำหรับภาคกลาง

    อาหารสำรับของภาคกลาง ไม่เน้นไปรสชาติใดรสชาติหนึ่งโดยเฉพาะ จะมีรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว หวาน คลุกเคล้าไปตามชนิดของอาหาร นิยมใช้เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส ใช้กะทิเป็นส่วนประกอบของอาหารประเภทพะแนงและแกงต่างๆ มีเครื่องเคียงและเครื่องแนมรับประทานกับอาหาร และน้ำพริกเครื่องจิ้ม เพื่อเสริมรสชาติ ลดความเผ็ดและแก้เลี่ยน

    การเตรียม ประกอบ จัด ตกแต่งอาหารสำรับภาคกลาง

    ขนมจีนซาวน้ำ
    เครื่องปรุง  
ขนมจีน                          20       จับ           
กุ้งแห้งป่น                      ½        ถ้วยตวง     
สับปะรดสับละเอียด       1½      ถ้วยตวง
กระเทียมหั่นบาง            ¼        ถ้วยตวง
มะนาวผ่าซีก                  3         ลูก
น้ำปลา                           ¼        ถ้วยตวง
ลูกชิ้นปลาสำเร็จรูป        30       ลูก
มะพร้าวขูดขา                300     กรัม
พริกขี้หนูซอย                10       เม็ด
ขิงสดหั่นฝอย                 ¼  ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย                   ¼  ถ้วยตวง

    การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องปรุงขนมจีนซาวน้ำ  มีขั้นตอนดังนี้
    1.ล้างมีด เขียง ถ้วย จาน หม้อ ทัพพีโปร่ง กระชอน ทัพพีกลม ถ้วยตวงของแห้ง ถ้วยตวงของเหลว ช้อนตวงให้สะอาด คว่ำให้แห้ง 
    2.ล้างลูกชิ้นปลาให้สะอาด พักบนกระชอนให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นลงไปลวกในน้ำเดือด 1-2 นาที แล้วใช้ทัพพีโป่งตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ หั่นลูกชิ้นออกเป็น2ส่วน ใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
     3.ชั่งตวงกุ้งแห้งป่น มะพร้าวขูดขาว สับประรดสับละเอียด พริกขี้หนูซอย กระเทียมหั่นบาง ขิงสดหั่นฝอย มะพร้าวผ่าซีก น้ำตาลทราย น้ำปลา ใส่ถ้วยและจานที่เตรียมไว้

การประกอบอาหาร : ขนมจีนซาวน้ำ  ทำได้โดย
คั้นหัวกะทิให้ได้ 1 ถ้วย จากมะพร้าวขูด 300 กรัม แล้วยกหัวกะทิขึ้นตั้งไฟ พอร้อนจึงลง

การจัดสำรับขนมจีนซาวน้ำ  มีขั้นตอนดังนี้
1.จัดขนมจีนม้วนลงในจานเป็นคำๆ ตักลูกชิ้นปลาลวก กุ้งแห้งป่น สับประรดสับละเอียด พริกขี้หนูซอย กระเทียมหั่นบาง ขิงสดหั่นฝอย น้ำตาลทราย มะนาวผ่าซีกวางไว้รอบๆจาน โดยให้ห่างจากขอบจานหนึ่งนิ้ว
2.วางถ้วยหัวกะทิและถ้วยน้ำปลาลงในจาน

การตกแต่งขนมจีนซาวน้ำ
กรีดพริกชี้ฟ้าแดง แช่น้ำจนบานเป็นดอกไม้ นำมาวางลบนขนมจีน

     อาหารสำรับภาคเหนือ

     อาหารสำรับภาคเหนือ มักนำพืชตามป่าตามเขาหรือพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมาใช้ในการปรุงอาหาร รับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก รสชาติอาหารของภาคเหนือ จะได้รับความหวานจากผักจากปลา ได้รับความเปรี้ยวของมะเขือส้ม และไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหารคาว การประกอบอาหารก็มักจะทำให้สุกมาก เช่น ผัดจนนุ่ม ต้มจนนุ่ม และอาหารส่วนใหญ่จะผัดกับน้ำมัน เครื่องปรุงรส นิยมใช้ ปลาร้า น้ำปู่ ถั่วเน่าแผ่น ถั่วเน่าเมอะ มะแขว่น และมะแหลบ
     ผักที่นิยมนำมารับประทานกับน้ำพริกส่วนใหญ่เป็นผักนึ่ง เช่น ผักปู่ย่า ผักขี้หูด ผักกาดดอง หอมด่วน หอมป่อม ยี่หร่า หยวกกล้วย บ่าค้อนก้อม บ่าหนุน ดอกงิ้ว พริกหนุ่ม ดอกลิงแลว ตูน ผักหระ ผักหนอก หัวปีหรือหัวปลี ดอกแก หน่อไม้ไร่ มะเขือส้ม
     การจัดสำรับของภาคเหนือนิยมจัดข้าวเหนียวร่วมกับอาหารและเครื่องเคียง เครื่องแนม เช่น แกงฮังเล น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู ลาบหมู ผักต้มใส่จานชาม แล้ววางบนขันโตกซึ่งทำด้วยไม้รูปทรงกลม
    การเตรียม ประกอบ จัด ตกแต่งอาหารสำรับภาคเหนือ

    แกงฮังเล
    เครื่องปรุง
เนื้อหมูสันนอก                             ½       กิโลกรัม
หมูสามชั้น                                   250     กรัม
ผงแกงฮังเลหรือผงกะหรี่             1 ½    ช้อนชา
ขิงสดหั่นฝอยเป็นเส้นๆ                1        ช้อนโต๊ะ 
กระเทียมปอกเปลือก                   1        ช้อนโต๊ะ
น้ำมะขามเปียก                            2        ช้อนโต๊ะ
ซีอิ๊วดำ                                        1 ½     ช้อนชา
น้ำ                                               2         ถ้วยตวง
น้ำตาล                                        1 ½     ช้อนชา
น้ำปลา                                        1          ช้อนชา

    เครื่องแกง
พริกแห้ง                                         3          เม็ด
ตะไคร้หั่นบางๆ                               1          ช้อนโต๊ะ
กระเทียมปอกเปลือกหั่นเล็กๆ         1          ช้อนโต๊ะ
หอมแดงปอกเปลือกหั่นบางๆ         1          ช้อนโต๊ะ และ 1 ½ ช้อนชา
กะปิ                                                 ½         ช้อนชา        
ข่าหั่นละเอียด                                 1          ช้อนชา
เกลือป่น                                         ½         ช้อนชา           

    การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องปรุงแกงฮังเล 
    1.ล้างครก ถ้วยตวง หม้อ ทัพพี ช้อนตวง เขียง มีด จาน ชาม
    2.เตรียมเครื่องแกงฮังเลดังนี้
- พริกแห้ง นำไปแช่น้ำให้พอง วางให้สะเด็ดน้ำ
- ข่า ล้างให้สะอาด ขูดเปลือกออก ล้างอีกครั้งแล้วหั่นให้ละเอียด
- ตะไคร้ ล้างแล้วหั่นบางๆ
- กระเทียม ปอกเปลือกแล้วล้าง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
- หอมแดง ปอกเปลือก ล้างแล้วหั่นบางๆ
- ตวงส่วนผสมรวมถึงกะปิและเกลือป่น โขลกพริกแห้ง ข่า ตะไครเ กระเทียมและหอมแดงให้ละเอียด จึงโขลกกะปิและเกลือป่นรวมอีกครั้ง
    3.เตรียมเครื่องปรุง
- เนื้อหมู ล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมแล้วเคล้าซีอิ๋วดำ
- ขิงสด ปอกเปลือก ล้างน้ำ หั่นบางๆแล้วซอยเป็นเส้นฝอย
- กระเทียม ปอกเปลือกแล้วล้าง
- มะขามเปียก นำน้ำเล็กน้อยมาแช่ ขยำแล้วใช้มือบีบกากทิ้ง
- ชั่งตวงใส่ถ้วยเตรียมไว้

    การประกอบอาหาร 
1.เคล้าเครื่องแกงโขลกละเอียดกับหมูแล้วหมักไว้1ชม.
2.ใส่หมูลงในหม้อ ยกตั้งไฟอ่อนๆ ผัดพอหมูตึงตัว ใส่น้ำลงหม้อปิดฝา เคี่ยวจนหมูเกือบนุ่ม
3.นำขิงซอย กระเทียมที่ปอกไว้เป็นกลีบ และผงแกงใส่ลงหม้อ เคี่ยวจนหมูนุ่มและน้ำงวด
4.เติมมะขามเปียก น้ำตาล น้ำปลา ชิมให้ได้3รสคือเปรี้ยว เค็ม หวาน

    การจัดการแกงฮังเล
    ตักแกงฮังเลใส่ชามโดยให้อาหารห่างจากชาม 1 นิ้ว และตักกระเทียมในแกงมาโรยด้านบน
    การตกแต่งแกงฮังเล
    กรีดพริกชี้ฟ้าแดง แช่น้ำจนบานเป็นดอกไม้นำมาวางบนแกงฮังเล

    น้ำพริกหนุ่ม
    เครื่องปรุง
พริกหนุ่มเผา 10 เม็ด
กระเทียมเผา 4 หัว
หอมแดงเผา 5 หัว
น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
เกลือป่น 1 ช้อนชา

    เตรียมอุปกรณ์และเครื่องปรุงน้ำพริกหนุ่ม มีขั้นตอนดังนี้ 
    1. ล้างครกและลูกครก ช้อนตวง มีด เขียง จาน ถ้วยใส่เครื่องปรุง ถ้วยใส่น้ำพริกให้สะอาด คว่ำไว้ให้แห้ง
    2. พริกหนุ่ม ล้างน้ำให้สะอาด วางให้สะเด็ดน้ำ นำไปเผาไฟ อย่าให้ไหม้ดำ ถ้าตรงไหนไหม้ดำให้แกะทิ้ง วางพักไว้
    3. ล้างกระเทียม หอมแดง วางพอสะเด็ดน้ำ นำไปเผาไฟพอเหลือง ปอกเปลือกออกให้หมด
    4. ตวงน้ำตาลทรายและเกลือป่นใส่ถ้วยเตรียมไว้
    การประกอบอาหาร : น้ำพริกหนุ่ม มีขั้นตอนดังนี้ 
    1. โขลกกระเทียม หอมแดง พริกหนุ่ม และเกลือป่นเข้าด้วยกัน
    2. เติมน้ำตาลทรายโขลกรวมให้เข้ากัน ชิมรสชาติตามชอบ

    การจัดและตกแต่งน้ำพริกหนุ่ม มีขั้นตอนดังนี้ 
    1. โขลกกระเทียม หอมแดง พริกหนุ่ม และเกลือป่นเข้าด้วยกัน
    2. เติมน้ำตาลทรายโขลกรวมให้เข้ากัน ชิมรสชาติตามชอบ

    การจัดและตกแต่งน้ำพริกหนุ่ม มีขั้นตอนดังนี้ 
    1. ตักน้ำพริกหนุ่มใส่ถ้วยก้นลึก โดยให้น้ำพริกอยู่ต่ำกว่าขอบถ้วย 1 นิ้ว
    2. จัดผักกับน้ำพริกหนุ่มซึ่งทำได้ 2 วิธี ดังนี้
     วิธีที่ 1 จัดแยกน้ำพริกและผักไว้คนละภาชนะ ใช้ถ้วยใส่น้ำพริกหนุ่มและใช้จานจัดผักต้ม ผักต้มควรมีหลายชนิด หลายลักษณะ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารที่หลากหลาย และให้สีสันรูปทรงที่แตกต่างกันเพื่อความสวยงาม เช่น ถั่วฝักยาวถั่วพู มะเขือ หน่อไม้ต้ม ดอกแค
     วิธีที่ 2 จัดถ้วยน้ำพริกในจานใบพอเหมาะ แล้วนำผักต้มจัดลงบนจานรอบๆ ถ้วยน้ำพริก การจัดผักควรจัดสลับสีและลักษณะแตกต่างกัน เืพ่อความสวยงาม

    อาหารสำรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    อาหารสำรับของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก รับประทานกับน้ำพริก ปลาร้า ผักต้ม และเนื้อสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ปลา ฮวกกรือลูกอ๊อด กุ้งฝอย อึ่งอ่าง หนูนา กิ้งก่า หมู ไก่ เป็ด นำมาประกอบอาหารต่างๆ โดยใช้ปลาร้า ขาวเบือ ข้าวคั่ว พริกป่น เป็นเครื่องปรุงรสและมีผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ  เช่น       ผักติ้ว ผักแว่น ผักแขยง ผักแม็ก ผักบัว หน่อไม้รวก เห็ดป่าต่างๆ เป็นเครื่องเคียงเครื่องแนมของลาบ ก้อย น้ำพริก

  นอกจากนี้ อาหารสำรับของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีรสชาติจัดจ้านคือ เผ็ด  เค็ม  เนื้อสัตว์นิยมปิ้ง ย่าง การจัดสำรับอาหารนิยมจัดข้าวเหนียวใส่กระติบ กับข้าวและเครื่องแหนมเครื่องเคียงนิยมจัดใส่ถ้วยชามวางลงบนถาดหรือกระด้ง

    การจัด ประกอบ เตรียม ตกแต่งอาหารสำรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    ลาบไก่
    เครื่องปรุง
เนื้อไก่                             500               กรัม
ตับไก่                              100               กรัม
กระเทียมเผา                   15               กลีบ
หอมแดงเผา                    7                   หัว
ข่าเผาหั่นละเอียด            1           ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูปั่น                     2           ช้อนโต๊ะ
ข้าวคั่ว                              2           ช้อนโต๊ะ
ต้นหอมซอย                     2           ฃ้อนโต๊ะ
ผักชีฝรั่งหั่นเล็กๆ              3           ช้อนโต๊ะ
ใบมะกรูดหั่นฝอย              1           ช้อนโต๊ะ
ใบสะระแหน่เด็ดใบแล้ว     1            ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว                           3            ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา                              3            ช้อนโต๊ะ
ผักสดต่างๆ เช่น กะหร่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักบุ้งไทย

    การเตรียมอุปกรณ์ลาบไก่ มีขั้นตอนดังนี้
    1.ล้างครก ลูกครก มีด เขียง กระทะ ตะหลิว ถ้วยตวงของเหลว ถ้วยตวงของแห้ง ช้อนตวง จาน ชาม ถ้วยใส่อาหารให้สะอาดแล้วคว่ำให้แห้ง
    2.การเตรียมเนื้อไก่สดและตับไก่ทำได้ดังนี้
นำเนื้อไก่สดล้างน้ำให้สะอาด สับให้ละเอียดพักไว้
ล้างตับไก่ให้สะอาดนำไปต้มให้สุก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆบางๆ
    3.การเตรียมหอมแดง ข่า ทำได้ดังนี้
นำกระเทียม หอมแดง ข่า ล้างน้ำให้สะอาด วางพอสะเด็ดน้ำ
เผากระเทียม หอมแดง ข่า ให้พอสุกเหลืองจากนั้นปลอกเปลือกออกให้หมด นำมาโครกรวมกันให้ละเอียดแล้วตักพักไว้
    4.การเตรียมต้นหอม ผักชีฝรั่ง ใบมะกูด ใบสะระแหน่ ทำได้ดังนี้
ตัดรากต้นหอมออกให้หมด  ล้างน้ำให้สะอาดซอยเล็กๆ

    การจัดลาบไก่
    ตักลาบไก่ใส่จานกลมหรือจานเปลให้ห่างจากขอบจาน 1 นิ้ว
    การตกแต่งลายไก่
    เด็ดใบสะระแหน่เป็นช่อๆ วางบนลาบไก่ หั่นถั่วฝักยาวเป็นท่อนสั้นๆ กะหล่ำปลีหั่นเป็นเสี้ยว ผักบุ้งไทยเด็ดเป็นยอด วางด่านบนของจานลาบไก่ หรือวางในจานผักแยกต่างหาก

    ส้มตำปูดอง
    เครื่องปรุง    
มะละกอดิบขนาดกลาง     1 ลูก                          
น้ำปลา                              4 ช้อนโต๊ะ
ปูดอง                                5 ตัว                                 
พริกขี้หนูสด                     10 เม็ด
มะเขือเทศสีดา                 8 ผล                                 
กระเทียม                          4 กลีบ
ถั่วฝักยาว                          3 ฝัก                                   
น้ำมะนาว                          3 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลาร้าต้มสุก                2 ช้อนโต๊ะ                          
น้ำตาลปีป                        4 ช้อนโต๊ะ 
น้ำมะขามเปียก                2 ช้อนโต๊ะ

    การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องปรุงส้มตำปูดอง
    1.ล้างครก ลูกครก มีด จาน ชาม ถ้วย ช้อนตวง กระชอน กะละมัง ให้สะอาดแล้วคว่ำให้แห้ง
    2.ปอกเปลือกมะละกอออกให้หมด ล้างน้ำให้สะอาดจนหมดยาง สับให้เป็นเส้นๆ หรือจะใช้มีดขูดเป็นเส้นๆแล้วแช่ในน้ำเย็นจัดที่แกว่งสารส้มไว้แล้ว
    3.เด็ดขาปูตรงส่วนปลายขาออก วางพักไว้
    4.ล้างมะเขือเทศ ถั่วฝักยาว พริกขี้หนู ให้สะอาด วางพักไว้
    5.กระเทียม ปอกเปลือกออกให้หมด ล้างพักไว้
    6.มะขามเปียก ล้างเล็กน้อย แช่น้ำพอนิ่ม คั้นน้ำ วางพักไว้
    7.ล้างมะนาวให้สะอาด คั้นน้ำ วางพักไว้
    การประกอบอาหาร : ส้มตำปูดอง มีขั้นตอนดังนี้
    1.โขลกพริกขี้หนูกับกระเทียมพอแหลก
    2.หยิบมะละกอใส่กระชอนให้สะเด็ดน้ำ แล้วหั่นมะเขือเทศ เด็ดถั่วฝักยาวเป็นท่อนๆใส่โขลกเข้าด้วยกัน
    3.ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว น้ำตาลปีป น้ำปลาร้าต้มสุก โขลกเบาๆ คลุกเคล้าให้เข้ากัน แกะส่วนต่างๆของปูเป็นชิ้นๆ ยกเว้นกระดองปูใส่ลงในครกคลุกเคล้าให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ
    การจัดส้มตำปูดอง
    ตักส้มตำปูดองใส่จานกลมแบนหรือจานเปล โดยให้ห่างจากขอบจาน 1 นิ้ว
    การตกแต่งส้มตำปูดอง
ใช้ส้อมและช้อนตักมะเขือเทศ ถั่วฝักยาว และปูดองออกมาอยู่บนเนื้อมะละกอ แล้วใช้ส้อมและช้อนโกยเส้นส้มตำและเครื่องปรุงให้ดูสูงเหนือจานและมองเห็นได้ชัดเจน

    ซุปหน่อไม้
    เครื่องปรุง    
หน่อไม้ลวก                        300 กรัม
งาขาวคั่ว                            1 ช้อนชา
ใบย่านาง                            30 ใบ
น้ำปลา                               1 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลาร้า                            ½ ถ้วยตวง
ผักชีฝรั่งซอย                      2 ต้น
เกลือ                                  ½ ช้อนชา
ใบสะระแหน่เด็ดเป็นใบ      ½ ถ้วยตวง
น้ำมะนาว                            2 ช้อนโต๊ะ
พริกป่น                           1 ช้อนชา
ต้นหอม                              1 ต้น

    การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องปรุงซุปหน่อไม้ มีขั้นตอนดังนี้
    1.ล้างครก ลูกครก ปีป กระชอน กะละมัง ถ้วยตวงของแห้ง ถ้วยตวงของเหลว ช้อนตวง หม้อ จาน ชาม
    2.นำหน่อไม้ลวก เผาในปีป ระวังอย่าให้ไหม้ วางทิ้งไว้สักครู่ นำมาขูดเป็นเส้นๆ วางพักไว้
    3.ขยี้หรือโขลกใบย่านาง นำมาขยำกับน้ำ กรองเอากากออกหรือจะใช้เครื่องปั่นคั้นเอาแต่น้ำก็ได้

    การประกอบอาหาร : ซุปหน่อไม้ มีขั้นตอนดังนี้
    1.นำหน่อไม้ต้มกับน้ำใบย่านาง ใส่เกลือ ต้มสักครู่
    2.ผักชีฝรั่ง ต้นหอม ล้างน้ำให้สะอาด วางให้สะเด็ดน้ำ แล้วซอยเล็กๆ
    3.ล้างใบสะระแหน่ และผักอื่นๆให้สะอาด เด็ดใบวางพักไว้
    4.ล้างมะนาวให้สะอาด คั้นเอาแต่น้ำ
    5.คลุกเคล้าหน่อไม้ น้ำใบย่านาง พริกป่น ต้นหอม ผักชีฝรั่งซอยให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำมะนาวและน้ำปลา ชิมรสตามชอบ

    การจัดซุปหน่อไม้
    ตักซุปหน่อไม้ใส่จานกลมแบนให้ห่างจากขอบจาน 1 นิ้ว
    การตกแต่งซุปหน่อไม้ 
    โรยงาขาวคั่วและต้นหอมซอยบนซุปหน่อไม้

    แกงอ่อมปลาดุก
    เครื่องปรุง    
ปลาดุกอุย                       1 ตัว
พริกขี้หนูสด                          15 เม็ด
น้ำสะอาด                               2 ถ้วยตวง
ตะไคร้                               1 ต้น
น้ำปลาร้า                               ½ ถ้วยตวง
หอมแดง                               4 หัว
ต้นหอม                                  2 ต้น
ผักชีลาว                                3 ต้น
มะเขือเปราะ                5 ลูก
มะเขือพวง                        ½ ถ้วยตวง
ใบชะพลู                                 10 ใบ
ใบแมงลัก                        ½ ถ้วยตวง
ข้าวเหนียวดิบแช่น้ำให้นิ่ม       2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา                                 2 ช้อนโต๊ะ

    การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องปรุงแกงอ่อมปลาดุก
    1.ล้างมีด เขียง ถ้วยตวงของเหลว ถ้วยตวงของแห้ง ช้อนตวง หม้อ ทัพพี จาน ชาม ถ้วยใส่แกง กะละมังให้สะอาด ผึ่งไว้ให้แห้ง
    2.ล้างปลาดุกให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นใส่จาน
    3.ล้างพริกขี้หนูสดและหอมแดง แล้วโขลกหอมแดง พริกขี้หนูสด ข้าวเหนียวแช่น้ำโขลกให้ละเอียดใส่ถ้วยไว้
    4.ล้างมะเขือเปราะให้สะอาดผ่าซีกใส่จานไว้
    5.ล้างตะไคร้ให้สะอาด หั่นท่อนสั้นใส่จานไว้
    6.ล้างมะเขือพวง ผักชีลาว ใบชะพลู ใบแมงลัก ให้สะอาด ใส่จานไว้
    7.ล้างต้นหอมให้สะอาด หั่นทิอนสั้นๆใส่ถ้วยไว้

    การประกอบอาหาร : แกงอ่อมปลาดุก มีขั้นตอนดังนี้
    1.เทน้ำสะอาดลงในหม้อตั้งไฟพอเดือด ใส่ปลาลงต้ม เติมน้ำปลาร้า
    2.เติมหอมแดง พริกขี้หนูสดและข้าวเหนียวที่โขลกไว้ลงในหม้อต้มปลา ปรุงรสด้วยน้ำปลา
    3.เมื่อปลาสุก ใส่มะเขือเปราะผ่าซีก ตะไคร้หั่นท่อนสั้น มะเขือพวง ใบชะพลู ใบแมงลัก ต้นหอมหั่นท่อนสั้น ปิดไฟ ยกลง

    การจัดแกงอ่อมปลาดุก
    ตักแกงอ่อมปลาดุกใส่ชามก้นลึกให้ห่างจากขอบชาม 1 นิ้ว
    การตกแต่งแกงอ่อมปลาดุก
   เด็ดผักชีลาวเป็นช่อ และหั่นพริกชี้ฟ้าแดงเป็นเส้นๆโรยหน้าแกงอ่อม


    อาหารสำหรับภาคใต้
    อาหารสำรับของคนภาคใต้มักมีปลาเป็นส่วนประกอบ เพราะมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล และใช้เครื่องเทศ เช่น ขมิ้นดับกลิ่นคาวของปลา อาหารแทบทุกอย่างของภาคใต้จึงมีสีเหลือง เช่น แกงส้มหรือแกงเหลือง แกงไตปลา ปลาทอดขมิ้น ไก่ทอดขมิ้น รสชาติอาหารของภาคใต้จะมีความเผ็ดจัด เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่มีรสหวาน โดยรสเผ็ดนั้นได้มาจากพริกขี้หนูสด พริกขี้หนูแห้ง และพริกไทย รสเค็มได้จากกะปิและเกลือ รสเปรี้ยวได้จากส้มแขก น้ำส้มลูกโหนด ตะลิงปลิง ระกำ มะนาว มะขามเปียกและมะขามสด และเนื่องจากอาหารภาคใต้ประเภทแกงและน้ำพริกมีรสเผ็ดจัด จึงมีผักเหนาะหรือผักจิ้มหรือผักแกล้มรับประทานควบคู่ไปด้วย เพื่อลดความเผ็ดร้อน 
    ผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่าง เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู  สะตอ สะตอเบาหรือต้นกระถิน  สะตอดอง ลูกเนียง หน่อเหวียง ยอดยาร่วง ยอดปราง ยอดมะละกอ  หยวกกล้วยเถื่อน ยอดหมุย ยอดแมะ ผักกูด ยอดธัมมัง ยอดเม็นชุน ยอดมันปู ยอดเลียบ ผักกาดนกเขา ลูกฉิ่ง ลูกเดื่อ ใบพาโหม
     นอกจากนี้ ยังมีเครื่องปรุงอาหารที่เป็นลักษณะของภาคใต้ เช่น น้ำบูดู พุงปลา (ไตปลา) กุ้งส้ม เนื้อหนาง
     การจัดสำรับอาหารของภาคใต้นิยมเอาอาหารในภาชนะต่าง ๆ ใส่ถาดวางบนโต้ะอาหาร โดยในภาชนะนั้นจะมีอาหารประเภท แกง ผัด ต้ม ทอด ยำ น้ำพริก หรือน้ำบูดูและข้าวสวย ถ้าเป็นอาหารข้าวยำหรือขนมจีนจะจัดคู่กับน้ำบูดู ผักสด ผัดต้ม และไข่ต้ม

    การเตรียม ประกอบ จัด ตกแต่งอาหารสำหรับภาคใต้

    แกงเหลือง
    เครื่องปรุง 
ปลากะพงสด          300 กรัม
หน่อไม้ดอง            1 ถ้วยตวง
น้ำมะขามเปียก.      2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว               1 1/2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย.         1 ช้อนชา
น้ำเปล่า.                4 ถ้วยตวง

    เครื่องแกง  
พริกแห้งเม็ดเล็ก.       9 เม็ด 
พริกสดเม็ดแดง.         9 เม็ด
ขมิ้นหั่นเป็นแว่น.        1 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น.                    1ช้อนโต๊ะ
กระเทียมกลีบใหญ่.   15 กลีบ
กะปิ.                          1 1/2 ช้อนโต๊ะ

    การเตรียมอุปกรณ์ เครื่องปรุง และเครื่องแกงของแกงเหลือง
   1.ล้างหม้อ ทัพพี ครก ลูกครก มีด เขียง ช้อนตวง ถ้วยตวง ถ้วยใส่แกง ให้สะอาด ผึ่งไว้ให้แห้ง 
   2.ขอดเกล็ดปลา ควักไส้ ตัดครีบ ล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นตามขวาง ไม่หนาหรือไม่บางเกินไป แล้วล้างอีกครั้ง วางใส่จานไว้
   3.ล้างหน่อไม้ดอง 2-3 ครั้ง แล้วบีบน้ำออกให้สะเด็ดน้ำ วางหน่อไม้ใส่จานไว้
   4.พริกสดสีแดง ล้างให้สะอาด วางใส่จานไว้
   5.ขมิ้นล้างให้สะอาด หั่นเป็นแว่นๆใส่จานไว้
   6.กระเทียมปอกเปลือก ล้างให้สะอาด ใส่จานไว้
   7.คั้นน้ำมะขามเปียกให้ได้ 2 ช้อนโต๊ะ โดยใช้เนื้อมะขามเปียก 1 1/2 กับน้ำ 2ช้อนโต๊ะ
   8.คั้นน้ำมะนาวให้ได้ 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
   9.ตวงน้ำตาลทราย ขมิ้นหั่นเป็นแว่น เกลือป่น และกะปิ ใส่ถ้วยเตรียมไว้

    ประกอบอาหาร : แกงเหลือง มีขั้นตอนดังนี้
    1.โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด โดยใส่กะปิเป็นลำดับสุดท้าย 
    2.ใส่น้ำในหม้อตั้งไฟให้เดือด ตัดเครื่องแกงลงในหม้อ คนให้ละลาย พอน้ำแกงเดือดใส่หน่อไม้ดอง ต้มต่อไปจนน้ำเดือดอีกครั้งจึงใส่ปลา ต้มจนปลาสุกพอดี
    3.ใส่น้ำมะขามเปียก น้ำตาลทรายในหม้อแกง  ต้มจนเดือด จึงใส่น้ำมะนาว ชิมรสดูตามชอบ แล้วยกหม้อแกงลงจากเตา 

    ข้อเสนอแนะ 
    หม้อที่ใช้แกงควรใช้หม้อเคลือบ หรือหม้อสแตนเลส อย่าใช้หม้อะลูมิเนียมเพราะจะทำให้หม้อสึก เพราะกรดน้ำส้มจะทำให้ภาชนะอะลูมิเนียมทรึกกร่อนำได้
    การแกงปลาสด ต้องใช้ไปแรง จะช่วยให้ปลาไม่เหม็นคาว

    ผัดสะตอกุ้ง
    เครื่องปรุง 
กุ้งสด.                           100 กรัม
สะตอแกะเปลือกแล้ว.   1 ถ้วยตวง
พริกขี้หนูแดง.               15 เม็ด 
กระเทียม.                     10 กรัม
กะปิดี.                           1 ช้อนชา
น้ำมะนาว.                     2 ช้อนโต๊ะ  
น้ำตาลปีบ.                    2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลาดี.                      2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันพืช.                     2 ช้อนโต๊ะ
พริกชี้ฟ้าแห้ง.              2 เม็ด

    การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องปรุงผัดสะตอกุ้ง มีขั้นตอนดังนี้
    1.ล้างครก ลูกครก มีด เขียง ช้อนตวง ถ้วยตวง ถ้วยใส่แกง ให้สะอาด ผึ่งไว้ให้แห้ง 
    2.ล้างกุ้ง 2-3 น้ำ ปอกเปลือกเหลือเฉพาะหาง ใช้มีดผ่าหลัง  หากมีขี้ดำ ๆ ให้ใช้ปลายมีดเขี่ยออก
    3.ล้างสะตอให้สะอาด ผ่าครึ่งซีก แกะเปลือกออก
    4.ล้างพริกขี้หนูแดงให้สะอาด สงให้สะเด็ดน้ำ เด็ดขั่งออก แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
    5.ล้างมะนาวให้สะอาด ปอกเปลือกออกให้หมด แล้วคั้นเอาแต่น้ำ
    6.กรีดพริกชี้ฟ้าแดง แช่น้ำจนบานเป็นดอกไม้

    การประกอบอาหาร : ผัดสะตอ
    1.โขลกกระเทียม พริกขี้หนูแห้ง ให้เข้ากัน ตักพักไว้
    2.เทน้ำมันพืชใส่กระทะตั้งไฟ นำเครื่องปรุงที่ไว้ลงผัด
    3.ใส่กะปิมนกระทะผัดพอหอมด้วยไฟอ่อน ๆ ใส่กุ้งสด เปิดไฟแรง ผัดจนกุ้งสุก
    4.ใส่สะตอ ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลปีบ มะนาว ผัดให้เข้ากัน พอสุกยกลง 

    การจัดผัดสะตอกุ้ง
    ตักผัดสะตอกุ้งลงในจานเปลให้ห่างจากขอบจาน 1นิ้ว
    การตกแต่งผัดสะตอกุ้ง
    วางพริกชี้ฟ้าแดงที่กรีดและแช่น้ำจนบานเป็นดอกไม้บนผัดสะตอกุ้ง

    บูดูทรงเครื่อง
    เครื่องปรุง 
น้ำบูดูอย่างดี                            1  ถ้วยตวง
กุ้งสดต้มสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ          1/2  ถ้วยตวง
ตะไคร้.                                     6.  ต้น
หอมแดง.                                 15 หัว
ข้า.                                           1/2. แง่ง
ใบมะกรูดหั่นฝอย.                    10. ใบ
พริกขี้หนูสดเขียวแดงหั่นฝอย  10 เม็ด
น้ำมะนาว.                                 2 ช้อนโต้ะ
น้ำตาลปีบ.                                2. ช้อนโต้ะ
น้ำสะอาด.                                 2. ช้อนโต้ะ
ผักสดต่าง ๆ.                             2. ถ้วย

    การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องปรุงบูดูทรงเครื่อง มีขั้นตอนดังนี้
    1.ล้างหม้อ ทัพพี ช้อนตวง ถ้วยตวงของเหลว ถ้วยตวงของแข็ง ช้อนตวง กระชอน ผ้าขาวบาง มีด เขียง ถ้วย จาน ชาม ให้สะอาด ผึ่งไว้ให้แห้ง
    2.ล้างกุ้งให้สะอาด 2 ครั้ง ปอกเปลือกออกให้หมด นำน้ำใส่หม้อตั้งไฟให้แรง พอน้ำเดือดจัดให้ใส่กุ้ง พอสุกดีให้ยกลงตักขึ้น หั่นกุ้งเป็นชิ้นเล็ก ๆใส่ถ้วยไว้
    3.เครื่องปลุงจำพวก ตะไคร้ ข่า พริก ใบมะกูด ล้างให้สะอาด พักไว้
    4.หอมแดงปลอกเปือกออกให้หมด
    5.ล้างผักสดต่าง ๆให้สะอาด ใส่ถาดเอาไว้

    การประกอบอาหาร : บูดูทรงเครื่อง
    1.น้ำนำบูดูใส่หม้อ นำน้ำสะอาดใส่หม้อ 1 ถ้วยตวง
นำตะไคร้ 3 ต้น ข่าทุบพอแตกใส่หม้อบูดู ยกตั้งไฟอ่อน ๆ พอน้ำบูดูเริ่มเดือดให้ใส่น้ำตาลปีบ คนสักครู่ ฉีกใบมะกรูด 3 ใบ ใส่ในหม้อบูดู พอเดือดยกลงกรองเอาแต่น้ำ
    2.นำกุ้งที่หั่นไว้ผสมในชามบูดู และเติมน้ำมะนาว
    3.ผสมตะไคร้ ใบมะกรูด หอมแดง พริกหั่นฝอย ลงในบูดู คนให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ

    การจัดบูดูทรงเครื่อง
    ตักบูดูทรงเครื่องใส่ถ้วยก้นลึกให้ห่างจากขอบถ้วยประมาณ 1 นิ้ว
    การตกแต่งบูดูทรงเครื่อง
    โรยใบมะกรูดหั่นฝอยลงบนบูดูทรงเครื่อง แล้ววางบูดูทรงเครื่องตรงกลางจานกลางใหญ่ จัดผักสดชนิดต่าง ๆ ไว้ รอบถ้วย เช่น แตงกวา ถั่วฝักยาว ถั่วพู ใบบัวบก ยอดกระถิน สะตอ โดยหั่นแตงกวาเป็นชิ้นตามขวางไม่บางหรือหนาเกินไป ถั่วพูหรือถั่วฝักยาวให้หั่นเป็นท่อน ใบบัวบกเด็ดเป็นใบ ยอดกระถินเด็ดเป็นยอด สะตอแกะเป็นเม็ด

    ผู้จัดทำ
เด็กหญิงพิมพกานต์ ประคองสินสุข เลขที่19
เด็กหญิงอาทิตยา จันทร์ม่อม           เลขที่20
เด็กหญิงจิราภรณ์ จิระประดับวงศ์    เลขที่21
เด็กหญิงดลลชา แผ่นศิลา               เลขที่22
เด็กหญิงบัณฑิตา เจริญชวลิตกุล     เลขที่24
เด็กหญิงศสิริฑณพร อ้นจีน              เลขที่25
เด็กหญิงชนิตา สิริศักดิ์สถาพร         เลขที่29
เด็กหญิงทิพจุฑา ทวิชศรี                เลขที่30
เด็กหญิงสาธิตา วิอังศุธร                 เลขที่32

วันอังคารที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560

บทที่ 1 การดูแลเสื้อผ้า


    บทที่ 1 การดูแลเสื้อผ้า
    
    ความหมายและความสำคัญของการดูแลรักษาเสื้อผ้า
    การดูแลเสื้อผ้า หมายถึง การทำความสะอาดและเก็บรักษาเสื้อผ้าโดยวิชาการขจัดรอยเปื้อน ซัก ตาก รีด เก็บ พับ หรือแขวนในถุงเก็บเสื้อหรือในตู้
    การดูแลรักษาเสื้อผ้าอย่างถูกวิธีและประณีตความสำคัญ ดังนี้
    1. เสื้อผ้าสะอาด ไม่มีคราบสกปรก หรือมีกลิ่นเหม็นจากเหงือ
    2. ป้องกันไม่ให้เกิดโรคผิวหนังอันเนื่องมาจากเสื้อผ้าสกปรก เช่น หิด กลาก เกลื้อน ผดผื้นคัน
    3.ถนอมเนื้อผ้าให้ทนทาน ไม่เสื่ยมสภาพ และมีอายุการใช้งานยาวนาน
    4.ส่งเสริมบุคลิกภาพของผู้สวมใส่ให้ดูดี สง่างาม เป็นที่ชื่นชอบของผู้พบเห็น
    5.ผู้สวมใส่เกิดความมั่นใจ และภาคภูมิใจ
    6.ปลูกฝังลักษณะนิสัยให้เป็นคนรักสะอาด มีระเบียบวินัย ประณีต สวยงาม

    ประเภทของเสื้อผ้า
    เสื้อผ้าแบ่งตามชนิดของเส้นใย ที่นำมาทอเป็นผืนผ้าได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
    1. เสื้อผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ ซึ่งเป็นเส้นใยที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ สวมใส่สบาย แต่ต้องใช้ความประณีต เพราะยับง่าย
    2.ผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์ ซึ่งเป็นเส้นใยที่มนุษย์สังเคราะห์จากสารเคมี แล้วผลิตเป็นผืนผ้า เสื้อผ้าใยสังเคราะห์จะมีการดูแลรักษาง่าย เพราะไม่ยับ ยืดหยุ่นและคืนตัวได้ดี แต่ไม่ค่อยดูดซึมน้ำและไม่ระบายความร้อน จึงเหมาะที่จะสวมใส่ในห้องปรับอากาศ
    เส้นใยที่นิยมมาตัดเย็บเสื้อผ้า เช่น ไนลอน พอลิเอสเทอร์ อไครลิก สแปนเด็ซ์
    3.เสื้อผ้าจากเส้นใยกึ่งสังเคราะห์ ซึ่งเป็นเส้นใยที่มีส่วนผสมของเส้นใยธรรมชาติ ผ้าจะมีเนื้อนุ่ม เป็นมันเงา ดูดซึมน้ำได้ดี แต่ไม่ค่อยมีความเหนียว เสียรูปทรงไม่ถูกน้ำ ไม่ทนกรดเข้มข้น
เส้นใยกึ่งสังเคราะห์ที่นิยมมาตัดเสื้อผ้า เช่น เรยอน อะซิเตต

    หลักการดูแลเสื้อผ้า
    การดูแลเสื้อผ้าให้ทนทาน ใช้ได้นานมีหลักการ ดังนี้
    1.ขณะสวมใส่เสื้อผ้าต้องระมัดระวังไม่ให้เปื้อน ถ้าถูกของแหลมคมเกี่ยวขาด
    2.ไม่ควรใส่ของหนักหรือของมีคมในกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากระโปรง กระเป๋ากางเกง เพราะจะทำให้กระเป๋าขาดได้
    3.เสื้อผ้าเมื่อถอดแล้วจะสวมใส่อีก เช่น เสื้อกันหนาว สูท ไม่ควรแขวนไว้ที่ตะปู เพราะจะเสียรูปทรง ควรแขวนด้วยไม้แขวน เก็บไว้ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี
    4.สำรวจลักษณะบนป้ายผ้าที่ติดมากับเสื้อผ้า และดูแลให้ถูกต้อง ดังตัวอย่าง
Description: 375px-Waschen_40 ซักด้วยน้ำตามอุณหภูมิ
Description: 375px-Handwäsche  ซักด้วยมือ
Description: 375px-Nicht_waschen  ห้ามซักน้ำ
Description: 375px-Professionelle_reinigung สามารถซักแห้งได้
Description: 375px-Nicht_chemisch_reinigen ห้ามซักแห้งด้วยน้ำมัน
Description: 375px-Professionelle_reinigungซักแห้งด้วยน้ำมัน
Description: 375px-Bügeln_1   รีดโดยความร้อนต่ำ 120 องศา
Description: 375px-Bügeln_2  รีดโดยใช้ความร้อนปานกลาง 160 องศา
 Description: 375px-Bügeln ห้ามรีด
  รีดโดยใช้ไอน้ำ ฯลฯ

    5. สำรวจชนิดของเส้นใยผ้าเพ่อให้เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือในการดูแลรักษาได้เหมาะสม
    6. หยิบสิ่งของออกจากกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกง กระเป๋ากระโปรงออกก่อนขจัดรอยเปลื้อนละซัก
    7. ขจัดรอยเปลื้อนทันทีที่พบจะช้วยประหยัดแรงงานและเวลาในการซักเสื้อผ้า
    8. ซ้อมแซมเสื้อผ้าที่ชำรุดก่อนซักทำความสะอาด
    9. แยกสีผ้า ผ้าขาว ผ้าที่สีตกไว้ เพื่อสะดวกในการซักและป้องกันเสื้อผ้าสีหมองหรือสีตกใส่
    10. ศึกษาวิธีใช้งานวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือดูแลเสื้อผ้าให้เข้าใจ จากการอ่านฉลากหรือข้อความตามบรรจุภัณฑ์ และคุ่มือการใช้งานแล้วปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
    11. จัดเก็บเสื้อผ้าอย่างถูกวิธีโดยไม่ให้ยับหรือเสียรูปทรงหยิบใช้ได้สะดวกปราศจากฝุ่นและแมลง
    วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้า
    การดูแลเสื้อผ้า จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือดูแลเสื้อผ้าเพื่อให้เลือกใช้ได้เหมาะสมกับลักษณะงาน ดังนี้
  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สารซักฟอก เช่น น้ำยาซักผ้า
        สารซักฟอก เช่น น้ำยาซักผ้า       
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สารซักฟอก เช่น น้ำยาซักผ้า
             สารฟอกขาว            
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สารปรับผ้านุ่ม
 สารปรับผ้านุ่ม
  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สารตกแต่งผ้าขาว
    สารตกแต่งผ้าขาว  
    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สารตกแต่งผ้าให้คงรูป
       สารตกแต่งผ้าให้คงรูป   
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขวดใส่สารทำให้ผ้าเรียบ
  สารทำให้ผ้าเรียบ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่หนีบผ้า
    ที่หนีบผ้า
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กะละมัง
    กะละมัง      
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แปรงขัดผ้า
                  แปรงขัดผ้า                    
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตะกร้าใส่ผ้า
 ตะกล้าใส่ผ้า
  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องซักผ้า
          เครื่องซักผ้า           
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เตารีดไฟฟ้าแบบธรรมดา
          เตารีดไฟฟ้าธรรมดา      
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สารทำให้ผ้าเรียบ
        ขวดใส่สารทำให้ผ้าเรียบ
  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ที่รองรีด
   ที่รองรีด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หมอนรองรีด
หมอนรองรีด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไม้แขวนเสื้อ
 ไม้แขวนเสื้อ

     วิธีการดูแลเสื้อผ้าประเภทต่างๆ
     การดูแลเสื้อผ้าแต่ละประเภทให้สะอาด   คงสภาพดี  ใช้งานได้นานต้องรู้จักวิธีการขจัดรอยเปื้อน  ซัก  รีด  และเก็บรักษาที่ถูกวิธีดังนี้
     การขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า
     การทำกิจกรรมต่างๆหรือเหตุการณ์ที่เกิดในชีวิตประจำวัน เช่น เล่นกีฬา  ขึ้นรถ  ลงเรือ  ทำงาน  รับประทานอาหาร  เกิดอุบัติเหตุ อาจทำให้เสื้อผ้าที่เราสวมใส่เปรอะเปื้อนจากคราบสกปรกต่างๆได้  ซึ่งหากไม่ขจัดทันทีที่พบ  จะทำให้คราบสกปรกเหล่านั้นฝังแน่นในเส้นใยผ้า  จนกระทั่งไม่สามารถชักออกได้
                                           

    รอยเปื้อนบนเสื้อผ้าพบเป็นประจำมีวิธีการขจัดดังนี้
    รอยเปื้อนชา กาแฟ ใช้น้ำร้อนราดบนรอยเปื้อนให้จางลง จากนั้นนำไปซักในน้ำอุ่นกับสบู่  ถ้ายังซักไม่ออกให้ใช้น้ำยาฟอกขาวเช็ด แล้วจึงนำไปซักกับสารซักฟอก
    รอยเปื้อนเลือด ให้นำนมข้นหวานทาบริเวณรอยเปื้อน  หรือใช้แป้งมันผสมน้ำให้เข้มข้นเหมือนแป้งเปียกทาบริเวณรอยเปื้อนทิ้งไว้สักครู่  แล้วจึงนำไปซักตามปกติ ถ้ารอยเปื้อนเป็นคราบฝังแน่น  ให้ใช้ฟองน้ำ จุ่มน้ำเย็นที่ผสมเกลือ  ถูเบาๆจนรอยจาง
    รอยเปื้อนหมากฝรั่ง ให้ใช้น้ำแข็งถูให้หมากฝรั่งแข็งตัว  แล้วใช้สันมีดขูดออก  จากนั้นใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ด  นำไปซักในสบู่
    รอยเปื้อนยาแดง เช็ดรอยเปื้อนด้วยแอมโมเนีย หรือซักด้วยน้ำส้มสายชูผสมน้ำ
    รอยเปื้อนน้ำหมึก ถ้าเป็นรอยเปื้อนใหม่ๆให้ขยี้น้ำผสมสารซักฟอก  ถ้ายังมีรอยเปื้อนให้นำเกลือป่นโรยตรงรอยเปื้อน แล้วบีบน้ำมะนาวลงไปให้ชุ่มนำไปผึ่งแดดแล้วค่อยนำไปซัก
    รอยเปื้อนรา *เล็กน้อย บีบน้ำมะนาวลงบนเสื้อผ้าที่มีราขึ้น แล้วแช่ผ้าในสารซักฟอกสักครู่ จากนั้นนำไปซักตามปกติ
    รอยเปื้อนปากกาลูกลื่น ให้ใช้ฟองน้ำชุบแอลกอฮอล์เช็ดจนรอยจาง แล้วจึงนำไปซักตามปกติ
    รอยเปื้อนครีม  เนย  น้ำมัน ให้น้ำแป้งฝุ่นทาตัวมาโรยบริเวณรอยเปื้อนแล้วใช้กระดาษชำระวางทับ  จากนั้นนำเตารีดที่มีระดับความร้อนพอสมควรวางทับกระดาษ  จนแป้งดูดคราบมันออกหมด  จึงนำไปซัก
    รอยเปื้อนยางผลไม้ ใช้สารส้มถูบริเวณรอยเปื้อน แล้วนำไปซักด้วยสารซักฟอก
    รอยเปื้อนดินสอ ใช้ยาสีฟันป้ายลงบนพื้นดินสอแล้วขยี้  จากนั้นนำไปซักตามปกติ
    รอยเปื้อนโคลน ปล่อยให้โคลนแห้ง  แล้วใช้แปรงปัดออก  ซักด้วยน้ำเย็นหลายๆครั้ง  จนไม่มีน้ำโคลนออกมา  จึงซักด้วยผงซักฟอก
    รอยเปื้อนสนิม นำผ้ามาชุบน้ำให้เปียกก่อน  บีบน้ำมะนาวลงไปบนรอยเปื้อนทิ้งไว้ซักครู่  แล้วจึงนำไปซักตามปกติ
    รอยเปื้อนเหงื่อไคล ซักด้วยน้ำผสมน้ำส้มสายชูเล็กน้อย  แล้วจึงซักตามปกติ

    การซัก ตาก รีด และเก็บเสื้อผ้า
    การซัก ตาก รีด และเก็บเสื้อผ้าประเภทต่างๆ ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีวิธีการดังนี้
    1.เสื้อผ้าไหม
    1.1 การซักเสื้อผ้าไหมควรซักด้วยมือ ไม่ควรซักด้วยเครื่องซักผ้า เพราะแรงเสียดสีของเครื่องซักผ้าจะทำให้เส้นใยชำรุด โดยการซักเสื้อผ้าไหม มีขั้นตอนดังนี้
     1.) ใส่น้ำลงในกะละมังกะพอท่วมผ้าที่จะซัก เกือบครึ่งกะละมัง นำน้ำยาซักแห้งเทใส่น้ำในอ่าง ใช้มือแกว่งน้ำจนน้ำยาซักแห้งแตกฟอง
     2.) นำผ้าไหมแช่ลงในน้ำสักครู่ ใช้มือกดน้ำให้เปียกและจมน้ำ ใช้มือขยี้เบาๆตรงที่สกปรก เช่น ปกเสื้อ ปลายแขนเสื้อ และส่วนอื่นๆ ขยี้จนคราบเหงื่อไคล ขี้ฝุ่น และสิ่งสกปรกออกจนหมด อย่าใช้แปลงขัดถูผ้าไหมเด็กขาด
     3.) นำผ้าไหมที่ซักสะอาดแล้วขึ้นจากน้ำ ใช้มือบีบเบาๆ ให้น้ำ และน้ำยาซักแห้งออกจนหมด
     4.) นำผ้าที่ยกขึ้นจากน้ำแล้ว ไปล้างในน้ำสะอาด 2 ครั้ง จากนั้นแช่ในอ่างน้ำที่ผสมน้ำยาปรับผ้านุ่มไว้สักครู่ ปริมาณการใช้น้ำยาซักแห้ง และน้ำยาปรับผ้านุ่ม ให้ดูตามคำแนะนำในฉลากผลิตภัณฑ์
    1.2 การตากผ้าไหม ทำได้ดังนี้
     1.) ยกผ้าไหมขึ้นมาจากน้ำยาปรับผ้านุ่ม แล้วบีบเบาๆ ไบ่น้ำออก ห้ามบิดผ้า จะทำให้ผ้าเป็นรอยยับ เสียรูปทรง
     2.) สลัดผ้าเบาๆ คลี่ออกใส่ไม้แขวนเสื้อ
     3.) นำเสื้อใส่ไม้แขวนไปแขวนกับราวตากผ้าในที่ร่ม ที่มีลมพัดผ่าน
   1.3 การรีดเสื้อผ้าไหม มีขั้นตอนดังนี้
    1.) นำผ้าไหมที่ซักตากแห้งพอหมาดๆ มาพรมน้ำหรือฉีดพ่นน้ำยารีดผ้าเรียบให้ทั่ว ม้วนพับเก็บไว้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น นานประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำหรือน้ำยาที่ฉีดไว้กระจายเข้าเนื้อผ้าจนทั่วดี ไม่ควรนำไปรีดหลังพรมน้ำหรือฉีดพ่นน้ำยารีดผ้าเรียบทันที จะทำให้ผ้าด่างและไม่เรียบ
    2.) นำผ้าไหมที่ม้วนเก็บไว้ในตู้เย็นมารีด โดยใช้ผ้าฝ้ายขนาดผ้าเช็ดหน้ามาวางทับบนผ้าไหม แล้วจึงใช้เตารีด รีดบนผ้าฝ้าย หากไม่วางผ้าฝ้ายบนผ้าไหมก่อน ความร้อนจากเตารีดจะทำให้ผ้าไหมสูญเสียคุณสมบัติ คือ สีผ้าจะไม่สดใส อาจทำให้ผ้าเป็นรอยเหลือง และเก่าเร็ว ถ้าไม่รีดด้วยผ้าฝ้าย ให้รีดด้วยไฟอ่อนๆ หรือใช้เตารีดไอน้ำ ถ้ารีดแห้งๆ ผ้าจะแจ็งกระด้าง เป็นมันลื่น
   1.4 การเก็บรักษาผ้าไหม ทำได้ดังนี้
    1.) หลังจากรีดผ้าไหมเรียบร้อยแล้ว ควรแขวนไว้กับไม้แขวนเสื้อ แล้วนำไปแขวนเก็บไว้ที่ตู้แห้ง ไม่อับชื้น
    2.) ถ้าเป็นเสื้อผ้าไหมที่ใช้แล้ว และยังไม่สกปรก ควรแขวนกับไม้แขวนแล้วนำไปผึ่งไว้ในที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทดี หากผ้าไหมสกปรกเล็กน้อย ควรทำความสะอาดเฉพาะจุดนั้นทันทีใส่ไม้แขวนเสื้อนำไปผึ่งให้แห้งรีดให้เรียบก่อนนำไปเก็บในตู้เสื้อผ้า

    2. เสื้อผ้าฝ้าย
    2.1) การซักเสื้อผ้าฝ้าย เสื้อผ้าฝ้ายซักได้ด้วยมือ และใช้เครื่องซักผ้า แต่การซักด้วยมือจะถนอมเนื้อผ้ามากกว่า นอกจากนี้ การซักเสื้อผ้าอย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกันราขึ้นเสื้อผ้าได้โดยมีขั้นตอนดังนี้
      1.) แช่ผ้าฝ้ายด้วยน้ำเกลือหรือน้ำส้มสายชู 1 คืน แล้วนำขึ้นบีบน้ำออก
      2.) ใส่สารซักฟอก 1 ช้อน  ต่อ 1 น้ำกะละมัง ใช้มือแกว่งจนเกิดฟอง นำผ้าลงซัก ขยี้เบาๆ ยกขึ้นบีบน้ำออกเบาๆ นำไปล้างน้ำสะอาด 2 ครั้ง
      3.) แช่ผ้าฝ้ายในอ่างน้ำที่ผสมน้ำยาปรับผ้านุ่มไว้สักครู่
     4.) ถ้าเป็นผ้าฝ้ายสีขาว ให้ซักในน้ำสบู่ร้อนๆ ถ้าจะใช้น้ำยาฟอกขาว ต้องเป็นน้ำยาอ่อนๆ ล้างด้วยน้ำสะอาด จะปั่นให้แห้งด้วยเครื่องซักผ้าก็ได้
    2.2 การตากเสื้อผ้าฝ้าย ทำได้โดยนำเสื้อผ้าฝ้ายที่ซักเสร็จแล้ว ผึ่งและสบัดให้คลี่ออก ใส่ไม้แขวนเสื้อ ตากแดดจัดได้ แต่ไม่ควรนานเกินไป เพราะจะทำให้เส้นใยเสียคุณภาพ ถ้าเป็นผ้าสีนำไปแขวนในที่ร่ม มีลมพัดผ่าน ใช้มือดผ้าให้ตึง อย่าให้มีรอยยับจะช่วยให้รีดง่าย
    2.3 การรีดผ้าฝ้าย ทำได้โดยนำผ้าที่ตากไว้พอหมาดๆ นำไปรีด ไม่ต้องพรมน้ำ ฉีดน้ำยาหรือไม่ฉีกน้ำยาเรียบผ้าเรียบก้อได้ รีดด้วยความร้อนสูง ผ้าจะเรียบ 
    2.4 การเก็บรักษาผ้าฝ้าย ผ้าฝ้ายจะขึ้นราได้ง่ายเมื่ออยู่ในที่อับชื้น การดูแลรักษาเสื้อผ้าฝ้ายหลังจากซักแล้วควรใส่ไม้แขวนแขวนไว้ในตู้เสื้อผ้า ซึ่งวางไว้ในที่ที่อากาศถ่ายเทดี แห้งและเย็น ไม่ควรแขวนเสื้อผ้าให้แน่นมากนัก อีกทั้งก่อนเก็บไว้ในตู้ควรให้เสื้อผ้าแห้งสนิทก่อน

    3. เสื้อผ้าลินิน
    3.1 การซักเสื้อผ้าลินิน ควรซักด้วยมือ เพราะไม่ทำให้ผ้ายับรีดง่าย และการซักผ้าลินินสีขาวควรซักในน้ำอุ่น ผ้าลินินสีอื่นให้ซักในน้ำเย็น และใช้สารซักฟอกที่มีส่วนผสมของเอนไซม์เพื่อช่วยขจัดคราบสกปรก การซักผ้าลินินด้วยมือมีขั้นตอนดังนี้
     1.) นำผ้าลินินแช่น้ำสักครู่ยกขึ้นบีบเบาๆ แล้วนำผ้าไปแช่ในน้ำสารซักฟอกที่เตรียมไว้ แช่ไว้สักครู่เพื่อให้สารซักฟอกขจัดสิ่งสกปรก จากนั้นใช้มือขยี้ให้สิ่งสกปรกออกให้หมด แล้วยกขึ้น บีบน้ำออกเบาๆ ไม่ควรบิดผ้าแรงๆ เพราะจะทำให้เกิดรอยยับ นอกจากนี้สารฟอกขาวคลอรีนกับผ้าขาวได้
     2.) นำผ้าไปล้างในน้ำสะอาด 2-3 ครั้งจนหมดสารซักฟอก นำไปแช่ในน้ำผสมน้ำยาปรับผ้านุ่มสักครู่ ยกขึ้นบีบน้ำออก
    3.2 การตากเสื้อผ้าลินิน ทำได้โดยนำผ้าลินินที่ซักใส่ไม้แขวนเสื้อ ตากแดดเสื้อ แต่ไม่นานเกินไป แล้วผึ่งลมไว้พอหมาดจึงนำไปรีด หรือนำผ้าลินินหมาดๆ ไปม้วนไว้ในผ้าขนหนูสักครู่ เพื่อไม่ให้ผ้าแห้งแข็งเกินไป จึงนำไปรีด
    3.3 การรีดเสื้อผ้าลินิน ทำได้โดยนำเสื้อผ้าลินินที่ผึ่งลมพอหมาด หรือผ้าลินินที่ห่อผ้าขนหนูไว้ไปรีด โดยใช้ความร้อนสูง และให้รีดด้านใน เพื่อให้ด้านนอกเป็นมัน
    3.4 การเก็บรักษาเสื้อผ้าลินิน หลังจากรีดเสร็จแล้วให้นำไปแขวนกับไม้แขวน แล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้า

    4.เสื้อผ้าขนสัตว์
    เสื้อผ้าขนสัตว์เมื่อถูกความร้อนและชื้น ผ้าขนสัตว์จะเชื่อมติดกันเป็นแผ่น หดทุกครั้งเมื่อเปียก จึงควรส่งร้านซักรีดที่มีความชำนาญในการซักรีดให้จะดีกว่า สำหรับวิธีการดูแลเสื้อผ้าขนสัตว์อย่างง่ายที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองมีดังนี้
     1.) ใช้แปรงนุ่มๆแปรงฝุ่นออกทุกครั้งหลังการใช้ ถ้าถูกน้ำให้สะบัดออก อย่าแปรงขณะผ้าเปียก
     2.)  แขวนเสื้อผ้าขนสัตว์ในที่อากาศโปร่ง แห้ง และเย็น มีถุงพลาสติกหุ้ม
     3.) ห้ามใช้เสื้อผ้าชุดเดียวติดต่อกันนานหลายวัน 
เพราะเมื่อขนสัตว์มีการเสียดสีหรือถูไปมานานๆจะแข็งเป็นมัน บางชนิดขนจะหลุด

   5.เสื้อผ้าใยสังเคราะห์
   5.1 การซักเสื้อผ้าใยสังเคราะห์ สามารถซักได้ด้วยมือและเครื่องซัก แต่ซักมือจะถนอมผ้ามากกว่า โดยการซักเสื้อผ้าใยสังเคราะห์มีวิธีการดังนี้
    1) ควรแยกผ้าสีและผ้าขาวออกจากัน ไม่ควรซักรวมกัน เพื่อป้องกันสีตก
    2) ซักในน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น ด้วยสารซักฟอกชนิดอ่อนอย่างเบามือ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด                                2-3 ครั้ง จากนั้นบีบไล่น้ำออกให้ผ้าหมาด
    3) ถ้ามีความจำเป็นต้องฟอกขาว ควรใช้สารฟอกขาวอย่างอ่อน
    5.2 การตากเสื้อผ้าใยสังเคราะห์ ตากแดดได้แต่ต้องกลับเอาด้านในออก เพื่อป้องกันไม่ให้สีซีดจาง และไม่ควรตากนาน พอหมาดเก็บเข้าที่ร่ม
    5.3 การรีดเสื้อผ้าใยสังเคราะห์ เสื้อผ้าใยสังเคราะห์ไม่ยับ จึงไม่จำเป็นต้องรีด แต่หากรีดควรใช้ความร้อนต่ำ
    5.4 การเก็บเสื้อผ้าใยสังเคราะห์ ควรแขวนด้วยไม้แขวนแล้วเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้า

    6.เสื้อผ้าใยกึ่งสังเคราะห์
    6.1การซักเสื้อผ้าใยกึ่งสังเคราะห์ เสื้อผ้าใยกึ่งสังเคราะห์เมื่อถูกน้ำจะลดความเหนียวและความทนทาน ไม่ทนกรด ถ้าเปื้อนยางหรือน้ำผลไม้ต้องซักทันที ควรซักแห้งหรืออาจซักน้ำได้ แต่ผ้าจะยับมาก เสียเวลาซักนานอย่าแช่น้ำหรือทิ้งไว้ในน้ำนาน และควรใช้สารซักฟอกชนิดอ่อน ขณะซักไม่ควรขยี้หรือบิดมาก จากนั้นล้างน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง แล้วบีบน้ำให้หมาด
    6.2 การตากเสื้อผ้ากึ่งใยสังเคราะห์ ควรแขวนตากในที่ร่ม
    6.3 การรีดเสื้อผ้ากึ่งใยสังเคราะห์ ควรรีดด้วยความร้อนต่ำ เพราะไม่ทนความร้อนถ้าความร้องสูงจะละลาย
    6.4การเก็บเสื้อผ้ากึ่งใยสังเคราะห์ ควรแขวนด้วยไม้แขวนแล้วเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้าที่แห้งและเย็น
    นอกจากเสื้อผ้าใยธรรมชาติ ใยสังเคราะห์ และใยกึ่งสังเคราะห์แล้ว ยังมีเสื้อไหมพรมและเสื้อผ้าที่ตกแต่งด้วยเลื่อมและลูกปัด ซึ่งต้องมีวิธีการดูแลอย่างประณีต ดังนี้

    7.เสื้อผ้าไหมพรม
    เสื้อผ้าไหมพรม เป็นผ้าที่ถักทอจากเส้นไหมพรม มีลักษณะนุ่ม ไม่ยับ ยืดหยุ่นได้ดี สวมใส่อบอุ่น ป้องกันความหนาวได้ดี
    7.1 การซักเสื้อผ้าไหมพรม ทำได้โดยซักมือหรือซักด้วยเครื่องซักผ้าได้ทั้งสองวิธี ควรใช้น้ำยาซักแห้งซัก ขยำเบาๆ เมื่อสะอาดหมดสิ่งสกปรก นำไปล้างน้ำสะอาด  2-3 ครั้ง แล้วแช่น้ำยาปรับผ้านุ่มสักครู่ ไม่ควรนำเสื้อผ้าไหมพรมต่างสีซักรวมกัน เพราะสีจะตกได้
    เสื้อผ้าไหมพรมที่เปื้อนน้ำมัน มีวิธีซักโดยใช้น้ำอุ่นผสมน้ำสบู่หรือสารซักฟอกตีจนขึ้นฟอง นำเสื้อผ้าไหมพรมลงแช่ตรงรอยเปื้อนประมาณ 30 นาทีแล้วขยำเบาๆจนน้ำมันหลุดออกหมด นำไปล้างในน้ำอุ่น 2-3 ครั้ง จนสะอาด
    หลังจากซักเสื้อผ้าไหมพรมแล้ว ปูเสื้อไหมพรมลงบนโต๊ะ นำผ้าขนหนูแห้งๆปูทาบกับตัวเสื้อ ม้วนไปพร้อม ๆ กัน ผ้าขนหนูจะซับน้ำในเสื้อผ้าไหมพรมให้แห้งโดยไม่ต้องบิด เพราะถ้าบิดจะทำให้เส้นไหมพรมยับและยืด
    7.2การตากเสื้อผ้าไหมพรม ทำได้โดยนำเสื้อผ้าไหมพรมที่ซับน้ำจนแห้งแล้ว วางราบบนแผ่นกระดาษยาว ผึ่งให้แห้งในที่ร่ม ไม่ควรนำเสื้อไหมพรมตากบนราวตากผ้า เพราะผ้าไหมพรมเป็นผ้าที่มีน้ำหนักและทิ้งตัว จะทำให้ยืดย้วย เสียรูปทรง
    7.3 การเก็บรักษาเสื้อผ้าไหมพรม ทำได้โดยพับใส่ตู้เสื้อผ้าเก็บไว้ ไม่ควรแขวน เพราะจะทำให้ยืดย้วย เสียรูปทรง

    8.เสื้อผ้าที่ปักเลื่อมและลูกปัด
    เสื้อผ้าที่ปักเลื่อมและลูกปัด ส่วนมากจะตัดเย็บโดยใช้ผ้าไหม ผ้าป่านและผ้าลินิน ซึ่งซักรีดได้ยาก แต่ต้องระวังไม่ให้เลื่อมหรือลูกปัดหลุดอีกด้วย จึงต้องดูแลอย่างถูกวิธี ดังนี้
    8.1การซักเสื้อผ้าที่ปักเลื่อมและลูกปัด ทำได้โดยก่อนซักให้ตรวจหาจุดสกปรกก่อน จึงนำไปแช่น้ำสักครู่ ยกขึ้นบีบน้ำออกโดยไม่บิด จากนั้นนำไปซักในกะละมังที่มีน้ำสารซักฟอกที่ตีจนขึ้นฟอง ขยี้ตรงส่วนสกปรกออกให้หมด ถ้าจุดที่สกปรกเป็นส่วนที่เลื่อมหรือลูกปัด ให้ขยี้เบาๆแล้วยกขึ้น นำเสื่อลงไปแช่ในอ่างที่ผสมน้ำยาซักแห้งสักครู่และขยี้ตรงที่ไม่เป็นลูกปัด ล้างน้ำ 1-2 ครั้ง ยกขึ้นบีบไล่น้ำออก ห้ามบิด จากนั้นนำเสื้อผ้าแช่ในอ่างน้ำผสมน้ำยาปรับผ้านุ่มสักครู่ ยกขึ้นบีบไล่น้ำออกโดยไม่บิด
    8.2 การตากเสื้อผ้าที่มีเลื่อมและลูกปัด ทำได้โดยนำไปใส่ไม้แขวนเสื้อ ผึ่งในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเทดี อย่านำไปตากแดด เพราะจะทำให้ลูกปัดบิดและแตกหักง่าย
    8.3 การรีดเสื้อผ้าปักเลื่อมและลูกปัด ทำได้ดังนี้
     1) ฉีดน้ำพ่นให้ทั่วพอหมาดๆ ม้วนพักไว้สักครู่ นำไปฉีดยาเพื่อให้ผ้าเรียบและไม่อ่อนตัวอีกครั้งหนึ่ง ม้วนให้น้ำซึมซับจนทั่วจึงนำไปรีด
     2) การรีดผ้าที่ปักเลื่อมและลูกปัด ให้กลับด้านในออกนอก วางลงบนโต๊ะรีด ใช้ผ้าสาลูหรือผ้าลินินขนาดเท่าผ้าเช็ดหน้าชุบน้ำจนทั่วพอหมาด วางทาบตรงปักเลื่อมและลูกปัดรีดเบาๆจนเสื้อผ้าปักเลื่อมและลูกปัดแห้ง ต่อจากนั้นให้กลับด้าน ใช้ปลายเตารีดค่อยๆรีดผ้าที่อยู่ใกล้กับเลื่อมและลูกปัด เพื่อให้เรียบยิ่งขึ้น ตรงส่วนอื่น ๆ ก็ใช้ผ้าสาลูหรือผ้าลินินชุบน้ำพอหมาดวางทับและรีดจนทั่วทั้งตัว โดยรีดตรงปกและตัวเสื้อ สำหรับแขนเสื้อรีดเป็นส่วนสุดท้าย
    8.4 การเก็บเสื้อผ้าที่ปักเลื่อมและลูกปัด ควรกลับเสื้อผ้าด้านในออกเพื่อไม่ให้เลื่อมไปเกี่ยวสิ่อื่นหลุดออกได้โดยง่าย แล้วแขวนไว้ในตู้เสื้อผ้าให้เรียบร้อย

    ผู้จัดทำโดย
 เด็กชายกันต์พงษ์ เปลี่ยนสีเขียว เลขที่ 16
 เด็กหญิงนภสร ดาวดอน เลขที่23
 เด็กหญิงชนิษา สิริศักดิ์สถาพร เลขที่ 28
 เด็กหญิงมณพร ศรีสมุทรนาค เลขที่30
 เด็กหญิงสาธิตา วิอังศุธร เลขที่32